การออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้ไมโครเลิร์นนิ่งเพื่อพัฒนาประสิทธิผลการเรียนรู้ ในรายวิชาการประเมินทางจิตวิทยาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินคุณภาพการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้ไมโครเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาประสิทธิผลการเรียนรู้ในรายวิชาการประเมินทางจิตวิทยาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ไมโครเลิร์นนิง กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา การประเมินจิตวิทยาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ภาคเรียนต้น ปีการศึกษา 2564 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ที่ได้รับการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้ไมโครเลิร์นนิง และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1) คุณภาพการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้ไมโครเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาประสิทธิผลการเรียนรู้ในรายวิชาการประเมินทางจิตวิทยาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ภาพรวมของการออกแบบการเรียนการสอนฯ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.67)
2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ไมโครเลิร์นนิง พบว่าผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนเฉลี่ย 11.09 คะแนน (µ = 11.09, = 1.69) และมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเฉลี่ย 17.30 คะแนน (µ = 17.30, = 1.23)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ขวัญชนก พุทธจันทร์.(2563). การเรียนรู้แบบ Micro - Learning.https://www.lib.ku.ac.th/2019/index.php/covid-19/1041-micro
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2550). วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสนออิเล็กทรอนิกส์. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉลอง ทับศรี. (2549). การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional Design). เอกสารการสอนวิชาการออกแบบการเรียนการสอน (423511). ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ธนภัทร จันทร์เจริญ. 2562. การจัดการเรียนรู้สู่การศึกษาไทย 4.0. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ-วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 216-229
ภิชาดา เตชินธนาพร นันทรัตน์ เครืออนทร์ และกุลธิดา นุกูลธรรม. (2565). การพัฒนาความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องพันธุกรรมและวิวัฒนาการด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับไมโครเลิร์นนิง. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 9, 126-138
มหิตถีร์ จักราบาตร. (2562). สำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการรับชมสื่อภาพเคลื่อนไหวของคนไทย ปี 2562. กสทช.https://www.nbtc.go.th/News/Information/39402.aspx?lang=th-th
ลัดดาวัลย์ คงสมบูรณ์. (2562). การพัฒนาไมโครเลิร์นนิง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(2), 51-62
ศยามล อินสะอาด. (2564). การออกแบบไมโครเลิร์นนิงยุคดิจิทัล. สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 16(20), 16-31
ศิริลักษณ์ บุญมาพันธ์ ศยามล อินสะอาด และ สุพจน์ อิงอาจ. (2564). การพัฒนาบทเรียนไมโครเลิร์นนิงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(21), 65-78
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2564). ไมโครเลิร์นนิง (Microlearning): บทเรียนฉบับกระเป๋า...เล็กๆ แต่รู้ลึก. เข้าถึงจาก https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4109/
Alfredo, L. (2015). 5 Steps to Address Micro Learning Moments: The New Learning Journey. เข้าถึงจาก https://elearningindustry.com/benefits-of-microlearning-case-studies
Culatta, R. (2013). ADDIE Model. Instructional Design. (Online). http://www.
instructionaldesign.org/models/addie.html, March 20, 2016.
Susilana, R., Dewi, L., Rullyana, G., Hadiapurwa, A., and Khaerunnisa, N. (2022). Can microlearning strategy assist students’ online learning? Cakrawala Pendidikan: CP, 41(2), 437-451