การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านจำหน่ายและ เปลี่ยนยางรถยนต์ในจังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการสื่อสารการตลาดของผู้บริโภคที่เลือกใช้บริการร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์ในจังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการจากร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์ในจังหวัดจันทบุรี และ 3) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการจากร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์ในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคคลที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดจันทบุรีที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างสูตรคำนวณของยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์ในจังหวัดจันทบุรีโดยลักษณะคำถามเป็นคำถามปลายปิดและคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์ในจังหวัดจันทบุรี ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินคำตอบเป็น 5 ระดับ ซึ่งค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการสื่อสารการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า (1) ด้านขั้นตอนการให้บริการ ค่าเฉลี่ย 4.46 (2) ด้านเจ้าหน้าที่ ค่าเฉลี่ย 3.99 (3) ด้านราคา ค่าเฉลี่ย 3.78 ด้านผลิตภัณฑ์ ค่าเฉลี่ย 3.76 ด้านช่องทางการจำหน่าย ค่าเฉลี่ย 3.68 และด้านลักษณะทางกายภาพค่าเฉลี่ย 3.55 ส่วนด้านส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.45 2) พฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกเข้าใช้บริการร้านฉลวยการยาง และมีการเข้าใช้บริการมาอย่างต่อเนื่อง ประเภทของรถยนต์ที่เข้าใช้บริการ คือ รถกระบะ รับบริการซื้อยางรถยนต์และทำการเปลี่ยนยางรถยนต์ ความถี่เฉลี่ย 2 ครั้งต่อเดือน เข้ารับบริการวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง 600 - 900 บาท โดยลูกค้าเข้าใช้บริการกับทางร้านจากประสบการณ์ และความรู้ของตนเอง 3) การสื่อสารการตลาดไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์ในจังหวัดจันทบุรี ดังนั้น ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์ในจังหวัดจันทบุรี จึงควรมีการปรับปรุงวิธีการการสื่อสารตลาดหรือช่องทางการสื่อสารการตลาดที่ทันสมัย เพื่อให้สอดคล้องพฤติกรรมการรับบริการและแนวโน้มการตลาดของธุรกิจบริการร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์ อันจะนำไปสู่ธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมการขนส่งทางบก จังหวัดจันทบุรี. (2565, 31 พฤศจิกายน). จำนวนรถยนต์ส่วนบุคคลที่จดทะเบียนสะสมในจังหวัดจันทบุรี. http://www.dlt.go.th/site/chanthaburi.
จังหวัดจันทบุรี. (2565, 4 ธันวาคม). จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดจันทบุรี. http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/14.htm.
ปรีชา ศรีศักดิ์หิรัญ. (2562). การรับรู้กับพฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 9) หน่วยที่ 1-8 นนทบุรี.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทรงยศ ชูราศี. (2563). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์และคุณภาพการบริการที่มีผลต่อการซื้อซ้ำสินค้าและบริการของศูนย์บริการยางรถยนต์ ABC. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พนิดา ทองตัน. (2563). ความน่าเชื่อถือกับการตัดสินใจเข้าใช้บริการศูนย์บริการยางยนต์ของลูกค้าในเขตจังหวัด ร้อยเอ็ด.[การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
พรสุดา ปานเกษม. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้ศูนย์บริการยาง รถยนต์ : กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พรสุมิตร เจียมบุญศรี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลตอ่การตัดสินใจใช้บริการศูนย์บริการรถยนต์ Mitsu Auto Art. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2561). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2561). พฤติกรรมผบู้ริโภค. โรงพิมพว์สิทธิ์วัฒนา.
สมจิตร ล้วนจำเริญ. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมชาย ชลารักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อมุมมองในการเลือกซื้อยางรถยนต์ของลูกค้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคลังจังหวัดจันทบุรี. (2565, 3 มิถุนายน). รายงานสภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดจันทบุรีประจำเดือนมิถุนายน 2565.http://www.oic.go.th.
สุวัฒนา วงษ์กะพันธ์. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อร้านหนังสือออนไลน์. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/984.
อนันต์ จันทร์พริ้ม. (2560). การรับรู้คุณภาพการบริการของศูนย์ยางบางพลีของลูกค้า. [การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อานนท์ เชี่ยวชาญกิจการ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์บริการยางรถยนต์ในจังหวัดฉะเชิงเทรา.[การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อมรรัตน์ ทิพย์เลิศ. (2548). ความสามารถทางการสื่อสารของผู้นำท้องถิ่นในการบริหารจัดการชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Eliane Pereira et al. (2007). Customer choice of a car maintenance service provider: A model to identify the service attributes that determine choice. International Journal of Operations & Production Management, 27(5), 464-81.
Kotler P. and Armstrong G. (2022). Principles of Marketing. Prentice Hall.
Kotler, P. (1999). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (9th Edition). Prentice Hall College Inc.