“สายธารแห่งลุ่มน้ำจันทบูร” บทประพันธ์ส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำจันทบุรี

Main Article Content

เอกวิชญ์ เรืองจรูญ
ศุภศิระ ทวิชัย
พิสุทธิ์ การบุญ

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์บทประพันธ์ “สายธารแห่งลุ่มน้ำจันทบูร” มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของชุมชนริมน้ำจังหวัดจันทบุรี โดยผ่านการถ่ายทอดสุนทรียภาพทางด้านดนตรีและความงามทางด้านภาษาผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องราวผ่านบทประพันธ์ดนตรีแบบพรรณนา นำเสนอทำนองย่อยจากโน้ต C B A ที่ได้มาจากตัวอักษรคำว่า Chanthaburi มาจัดเรียงให้เกิดเป็นทำนองใหม่ ควบคู่กับพูดบรรยายเรื่องราวผ่านบทร้อยแก้วเชิงพรรณนาโวหาร บทเพลงประกอบด้วย 4 องก์ มีความยาวรวม 9 นาที บรรเลงด้วยวงดุริยางค์เครื่องลมขนาดมาตรฐานผสมผสานกับเครื่องดนตรีไทย รังสรรค์สำเนียงเสียงแบบตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดสุนทรียภาพทั้งทางด้านดนตรีและด้านภาษาอันเป็นวัฒนธรรมของไทย ผลที่ได้จากการสร้างสรรค์บทประพันธ์ “สายธารแห่งลุ่มน้ำจันทบูร” นำไปสู่การทอดความรู้และประสบการณ์สุนทรียศาสตร์ทางการฟัง เป็นการบรูณาการระหว่างศาสตร์ทางด้านดนตรีและด้านความงามทางภาษาไทย พร้อมทั้งสอดแทรกความรู้ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เพื่อส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ มรดกไทยให้สืบต่อไป

Article Details

How to Cite
เรืองจรูญ เ., ทวิชัย ศ., & การบุญ พ. (2023). “สายธารแห่งลุ่มน้ำจันทบูร” บทประพันธ์ส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำจันทบุรี . วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 212–220. https://doi.org/10.14456/issc.2023.19
บท
บทความวิชาการ

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). ตลาดริมน้ำ 100 ปี จันทบูร. กรุงเทพฯ: สีสันตะวันออก.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2559). สดับทิพย์ดุริยางค์ ศาสตร์การเรียบเรียงเพลงไทยสำหรับเปียโน. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทธนาเพรสจำกัด.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2553). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

ณรงฤค์ ธรรมบุตร (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรอรรถ จันทร์กล่ำ. (2559). แนวทางการเรียบเรียงเพลง “ลุ่มเจ้าพระยา”. สารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(1), 71-100.

ปฏิพันธ์ อุทนานุกุล. (2562). โวหารภาพพจน์ในนวนิยายเรื่องเจ้าจันท์หอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน.วิวิธวรรณสาร. 3(1), 123-141.

พิมพ์ชนก สุวรรณธาดา. (2559). การผสมผสานสำเนียงดนตรีไทย-ตะวันตกในงานสร้างสรรค์ดุริยางค์ศิลป์ “สยามดุริยลิขิต”. ในณัชชา พันธุ์เจริญ. ดนตรีลิขิต: รวมบทความดนตรีสร้างสรรค์เชิงวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 1). (257-273). บริษัทธนาเพรสจำกัด.

พระอุดมธีรคุณ, และ บัณฑิกา จารุมาจารุมา. (2563). ภาษาและวัฒนธรรม: ความหมาย ความสำคัญ และ ความสัมพันธ์ระหว่างกัน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(2), 53-63.

ภัทรพงศ์ สืบเพ็ง, ฑิฆัมพร รัตนพิทักษ์, และกนกวรรณ วารีเขตต์. (2563). การศึกษาโวหารภาพพจน์ในบทประพันธ์เพลงของศาสตราจารน์ ดร.ประเสิฐ ณ นคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รำไพพรรณี. 1(1), 30-40.

ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น สำหรับสืบค้นข้อมูล ทางด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดจันทบุรี. (ม.ป.ป). ชุมชนริมน้ำจันทบูร. https://www.ceediz.com/th/travel/chanthaburi/sp/a/

ลลิษา กระสินธุ์. (2564). การศึกษากลวิธีการใช้ภาษาและมโนทัศน์ทางสังคมในเพลงของณัฐวัฒิ ศรีหมอก ‘ฟักกลิ้ง ฮีโร่’ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทนาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศักดิ์ศรี วงศ์ธราดล. (2559). ความเป็นไทยในบทเพลง “กรุงเทพมหานคร”. ใน ณัชชา พันธุ์เจริญ. ดนตรีลิขิต: รวมบทความดนตรีสร้างสรรค์เชิงวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 1). (257-273). บริษัทธนาเพรสจำกัด.

องอาจ สิงห์ลำพอง. (2561). การถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านการเล่าเรื่องจากละครชุดอินเดีย สีดาราม ศึกรักมหาลงกา.วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต. (259-301).

อชิมา พัฒนวีรางกูล. (2559). กระแสชาตินิยมในบทประพันธ์เพลง “ฝากแผ่นดิน” ใน ณัชชา พันธุ์เจริญ. ดนตรีลิขิต: รวมบทความดนตรีสร้างสรรค์เชิงวิชาการ

(พิมพ์ครั้งที่ 1). (361-373). บริษัทธนาเพรสจำกัด.