ปัจจัยสู่ความสำเร็จของร้านกาแฟเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของร้านกาแฟเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับ 1) องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว2) รูปแบบการบริหารงาน และ 3) รูปแบบการบริหารการตลาด เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจิยเชิงปริมาณ ประชากร คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เคยใช้บริการร้านกาแฟเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 กลุ่มตัวอย่าง และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือผู้บริหารร้านกาแฟเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครที่ทำงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป และการใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย ประกอบด้วย t-test F-test one-way anova
ผลการวิจัยพบว่า
1) องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญมากที่สุด คือ รสชาติของกาแฟและอาหารดี เส้นทางสู่ร้านกาแฟมีความสะดวก ปลอดภัย มีห้องน้ำสะอาดบริการ โต๊ะ เก้าอี้ มีเพียงพอ มีความสะอาดและปลอดภัย สามารถใช้เป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ พูดคุย สานสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่น อาหารมีหลากหลาย พนักงานเป็นมิตร และมีจิตบริการ
2) รูปแบบการบริหารงาน พบว่า ต้นทุนเดิม คือ ทำเลสวยงาม อยู่ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว อาหารและเครื่องดื่มมีสูตรเฉพาะ กลยุทธ์ คือ การสร้างประสบการณ์ที่ประทับใจ ความเป็นเอกลักษณ์ และการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จัดโครงสร้างองค์กรแบบแบ่งตามหน้าที่ วิธีการสรรหาบุคลากรจากภายนอก คัดเลือกจากประสบการณ์ทำงาน ทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะตำแหน่ง มีจิตบริการ มีมนุษยสัมพันธ์ดี สะอาด และอายุไม่เกิน 35 ปี วิธีการคัดเลือก คือ สัมภาษณ์และการทดสอบ ฝึกอบรมและพัฒนาถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น และการสอนงาน กำหนดค่าตอบแทนจากระดับค่าจ้างทั่วไปและตามกฎหมายกำหนด มีสวัสดิการตามกฎหมายและเกินกว่ากฎหมายกำหนด ผู้ประกอบการเป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วม สั่งการแบบการสื่อสารอย่างเป็นทางการ การควบคุมเน้นตรวจสอบงบประมาณ และประเมินผลงานด้วยการสังเกตและคำแนะนำจากลูกค้า
3) รูปแบบการบริหารการตลาด ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ อาหาร ขนม และ เครื่องดื่ม ด้านราคา คือ คำนวณจากต้นทุนการผลิต คู่แข่ง ปริมาณของสินค้า และแสดงราคาชัดเจน ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ การจัดจำหน่ายที่ร้าน และผ่านเดริเวอรี่ ด้านการส่งเสริมการขาย คือ การโฆษณาและ ประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมพิเศษ การบอกต่อปากต่อปาก การถ่ายรูปเช็คอิน และการให้ลูกค้าและผู้มีชื่อเสียงรีวิว ด้านบุคลากร คือ พนักงานทุกคนต้องมีจิตบริการ ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ ให้เกียรติลูกค้า สุภาพ และมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า ด้านกระบวนการ คือ ผลิตอย่างพิถีพิถัน วัตถุดิบสด ด้านลักษณะทางกายภาพ คือ การตกแต่งเป็นเอกลักษณ์ จัดพื้นที่ให้โล่ง สบาย เน้นความเป็นส่วนตัว มีสิ่งอำนวยความสะดวก คือ ห้องน้ำ อินเตอร์เน็ตไวไฟ จุดสูบบุหรี่ จุดถ่ายรูป และมีเครื่องแบบพนักงาน ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่ารายได้ที่แตกต่างกันให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวของร้านกาแฟเพื่อการท่องเที่ยว ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้านคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม ที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก การเข้าถึง สิ่งดึงดูดใจ และจุดที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารแตกต่างกัน และการศึกษาแตกต่างกันให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและจุดที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารแตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561–2564. วีไอพีก็อปปี้ปริ้น.
ชเนรินทร์ หมดห่วง. (2560). การจัดการธุรกิจและกลยุทธ์ 9Ps ของธุรกิจกาแฟแบรนด์ท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ บริการของผู้บริโภคในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2559). องค์การและการจัดการ. ธนธชการพิมพ์.
ทวิช พงศกรวสุ และ เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2560). การศึกษารูปแบบการตลาดบริการของร้านกาแฟสไตล์ บูทีค: กรณีศึกษาเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 107-119.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2549). ก้าวต่อไปการท่องเที่ยวไทยในเวทีอาเซียน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ทรูไอดี (2562, 3 มกราคม). กรุงเทพฯติดท็อป 10 เมืองที่ถูกค้นหามากที่สุดในโลก. https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/thaitravel/1910363.
ธงชัย สันติวงษ์. (2544). พฤติกรรมองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ไทยวัฒนาพาณิช.
มณฑิรา อูนากูล และ พรรษชล ขาวดี. (2563, 13 ธันวาคม). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสภาวะไร้นักท่องเที่ยว ถึงเวลาต้อง เปลี่ยนแปลง.https://bangkok.unesco.org/content/th/cultural-tourism-without-tourists-beyond-business-usual
วันทนา แจ้งประจักษ์. (2561, 2 มกราคม). ความต้องการและการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟร้านอารมณ์ดีคอฟฟี่ช๊อปสถานที่ตั้งบางกะเจ้าสมุทรปราการ. http://www.ceos-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-1-1_1570638203.pdf
วันชัย มีชาติ. (2551).การบริหารองค์การ. ในประมวลสาระชุดวิชาการบริหารองค์การ. (หน่วยที่ 3, หน้า 3–46 - 3-54). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิสุทธิ์ อำพันธ์พงศ์ และปาลิดา ศรีศรกำพล. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) สำหรับธุรกิจร้านกาแฟสดของ นักลงทุนไทยที่ลงทุนเอง และเปิดสาขาในรูปแบบแฟรนไชน์ ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(3), 171-182.
พิพัฒน์ ไทยอารี. (2551). การบริหารองค์การ. ในประมวลสาระชุดวิชาการบริหารองค์การ. (หน่วยที่ 1, หน้า 1-5).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รักธิดา ศิริ. (2560). มุมมองนักท่องเที่ยวนานาชาติที่มีต่อร้านกาแฟในจังหวัดเชียงใหม่. MFU Connation Journal of Humanities and Social Sciences, 6(2), 232-264.
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2560). การเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวครั้งแรกและนักท่องเที่ยวซ้ำ.วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร, 9(2), 39-59.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ธุรกิจร้านกาแฟบริหารอย่างไรให้รุ่ง. https://www.kasikornbank.com/th /business/sme/ksmeknowledge/article/ksmeanalysis/pages/coffee-shop-management.aspx
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และ คณะ. (2542). องค์การและการจัดการฉบับสมบูรณ์. เพชรธรรมแก้วแห่งโลกธุรกิจ.
Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future.Tourism Management, 21(1), 97-116.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. John Wiley & Sons. Inc.
Collier, A., & Harraway, S. (1997). Principler of Tourism. Longman.
Cooper, C., & Boniface, B. G. (1998). Geography of travel and tourism. Butterworth Heinemann.
Dickman, S., (1996). Tourism: An Introductory text (2nd ed.). Hodder Education.
Gazzoli, G., Hancer, M., & Park, Y. (2010). The role and effect of job satisfaction and empowerment on customers ’perception of service quality: A study in the restaurant industry. Journal of Hospitality & Tourism Research, 34(1), 56–77.
Ha, J., & Jang, S. (2010). Effects of service quality and food quality: The moderating role of atmospherics in an ethnic restaurant segment. International Journal of Hospitality Management, 29(3), 520–529.
Han, H., & Hyun, S. S. (2017). Impact of hotel-restaurant image and quality of physical-environment, service, and food on satisfaction and intention. International Journal of Hospitality Management, 63(11), 82-92.
Kang, J., & Hyun, S. S. (2012). Effective communication styles for the customer-oriented service employee: Inducing dedicational behaviors in luxury restaurant patrons. International Journal of Hospitality Management, 31(3), 772–785.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management (12th ed) Edin). Pearson Education Limited.
Liu, Y., & Jang, S. S. (2009). Perceptions of Chinese restaurants in the US: What affects customersatisfaction and behavioral intentions? International Journal of Hospitality Management.
Namkung, Y. and Jang, S. (2007) Does Food Quality Really Matter in Restaurants. Its Impact on Customer Satisfaction and Behavioral Intentions. Journal of Hospitality & Tourism Research, 31, 387-409.
Tsaur, S., Luoh, H., & Syue, S. (2015). Positive emotions and behavioral intentions of customers in full- service restaurants: Does aesthetic labor matter. International Journal of Hospitality Management.
Suarez, A. N., KoelenLacay, J., Villanueva, V., Velasquez, A. R., Reyes, C. D., Serrano, V. and Borbon,
C. J. D. (2017). Impacts of Coffee Shop Business to Tourism Industry in Three Cities of Batangas,
Philippines. Journal of Tourism and Hospitality Research, 14(1), 131-145.
Wongnai. (2019, 12 มีนาคม). เปิดร้านอาหารไม่ควรพลาด! สรุปเทรนด์ร้านอาหาร ปี 2562 ในประเทศไทย. www.wongnai.com/business-owners/thailand-restaurant-trend-2019.
Wu, C. H., & Liang, R. (2009). Effect of experiential value on customer satisfaction with service encounters in luxury-hotel restaurants. International. Journal of Hospitality Management, 28(4), 586-593.