แนวทางการสื่อสารสุขภาพของเครือข่ายคลินิกแพทย์แผนไทยจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ขวัญฤทัย สุริยะ
บวรสรรค์ เจี่ยดำรง
ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการสื่อสารสุขภาพของเครือข่ายคลินิกแพทย์แผนไทยจังหวัดจันทบุรีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตการสัมภาษณ์เชิงลึกและการระดมสมองในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า มีการรวมตัวของบุคลากรทางการแพทย์แผนไทยจนเกิดเป็นเครือข่ายสุขภาพโดยจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มพบว่าเกิดจากการสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างอาจารย์กับศิษย์กลุ่มเกิดขึ้นเองไม่มีใครจัดตั้งขึ้นบทบาทของบุคคลในเครือข่ายพบว่าประกอบด้วยบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่แกนนำสมาชิกและพันธมิตรของเครือข่ายการสื่อสารในเครือข่าย พบว่าทั้งสามคลินิกมีการสื่อสารระหว่างบุคคลในลักษณะแบบเผชิญหน้าเป็นการสื่อสารสองทางระหว่างแกนนำกับสมาชิกของเครือข่าย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ของบุคคลและมีการติดต่อสื่อสารทางไลน์กลุ่มเพื่อความสะดวกรวดเร็วอย่างไรก็ตามเครือข่ายการสื่อสารนั้นเป็นแบบทุกช่องทางโดยมีการเอื้อให้สมาชิกมีการสื่อสารกันอย่างทั่วถึงแต่การสื่อสารไม่ได้เป็นแบบทางการจึงขาดระบบอย่างเป็นรูปธรรมเช่นวาระในการสื่อสารกำหนดการ เป็นต้น ดังนั้นแนวทางการสร้างกระบวนการสื่อสารภายในและเครือข่ายการสื่อสารภายนอกต้องประกอบด้วยด้านการสื่อสารภายในคือกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยและการประชุมสามัญด้านเครือข่ายการสื่อสารภายนอกสมาคมแบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ (1) ผู้รับบริการใช้สื่อสิ่งพิมพ์โดยจัดทำคู่มือการรักษาและใช้สื่อออนไลน์เพื่อเป็นตัวช่วยในการติดตามการรักษา(2)ประชาชนทั่วไปใช้สื่อกิจกรรมในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และสื่อออนไลน์ในการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ (3) ภาครัฐ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษเป็นการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจากหน่วยงานที่เอื้อผลประโยชน์ต่อกันและ(4)ภาคประชาสังคมใช้สื่อกิจกรรมในการสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจที่เกิดขึ้นในจันทบุรีอันนำสู่การวางรากฐานให้มั่นคงและยั่งยืน

Article Details

How to Cite
สุริยะ ข., เจี่ยดำรง บ., & แก้วตาธนวัฒนา ภ. (2023). แนวทางการสื่อสารสุขภาพของเครือข่ายคลินิกแพทย์แผนไทยจังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 1–11. https://doi.org/10.14456/issc.2023.1
บท
บทความวิจัย

References

กองสุขศึกษา. (2556). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน. ม.ป.ท

กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ใต้ฟากฟ้าแห่งการศึกษา สื่อบุคคลและเครือข่ายการสื่อสารภาพรวมงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กาญจนา แก้วเทพ, ขนิษฐา นิลผึ้ง. (2556). สื่อสาร อาหาร สุขภาพ. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิชาการสำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย.

ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. (2562). การสื่อสารสุขภาพเพื่อการดูแลสุขภาพและสุขภาพจิตระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกในครอบครัวด้วยสื่อใหม่ (พิมพ์ครั้งที่2). ห้างหุ้นส่วน จำกัด โรจนพริ้นท์ติ้ง.

ธีรวุฒิ ก่ายแก้ว. (2556). การสร้างเครือข่ายสังคม: กรณีศึกษานักฟุตบอลสมัครเล่นในกลุ่มกรุงเทพเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ประพันธ์ ช่วงภูศรี, สุรัชตา ราคา. (2550). กระบวนการสื่อสารกับเยาวชนของเครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรางแก้ว ปรางรัตน์. (2561). นุช: เครือข่ายการสื่อสารแฟนคลับผลิตโชค อายนบุตร บนสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พนา ทองมีอาคม, เพ็ญพักตร์ เตียวสมบูรณ์กิจ. (2551). การสื่อสารสุขภาพ: ประโยชน์และการจำเป็นของการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และการบริหารด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, (4)(3), 10-15

วาสนา จันทร์สว่าง. (2548). การสื่อสารสุขภาพ: กลยุทธ์ในงานสุขศึกษาและการเสริมสร้างสุขภาพ. เจริญดีการพิมพ์

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. โอเดียนสโตร์.

สุรัชตา ราคา. (2550). กระบวนการสื่อสารกับเยาวชนของเครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีรัตน์ โกสุมศุภมาลา. (2550). บทบาทของการสื่อสารต่อการธำรงรักษาเครือข่ายแฟนคลับของวงโมเดิร์นด็อก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หนึ่งฤทัย ขอผลกลาง และ กิตติ กันภัย. (2552). พัฒนาการและแนวโน้มของการวิจัยด้านการสื่อสารสุขภาพในประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Kreps, G. L.,& Thornton, B. C. (1992). Health communication: Theory & Practice. 2nd edition. Waveland Press.

Mark V. R. (2000). Communication: Theories and Applications. Houghton Mifflin Company.