การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวความคิดห้องเรียนกลับ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวความคิดห้องเรียนกลับด้าน
ผลการศึกษาพบว่า
1) ผลการศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาของนักศึกษาในภาพรวม พบว่า ก่อนการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวม เท่ากับ 7.65 คิดเป็นร้อยละ 38.45 หลังการส่งเสริมและพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มเป็น 13.67 คิดเป็นร้อยละ 68.35
2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหาในภาพรวม พบว่า ผลต่างของคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนกับก่อนเรียน () มีค่าเท่ากับ 6.87 ค่าสถิติ t เท่ากับ 15.91 (Sig. ที่ .05) และค่าขนาดของผล (effect size : d) เท่ากับ 2.45 หมายความว่า หลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวความคิดห้องเรียนกลับด้านนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวความคิดห้องเรียนกลับด้านในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.19 ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมาก โดยด้านที่นักศึกษาพึงพอใจมากที่สุด คือ ความพึงพอใจต่อเนื้อหาที่เรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.44
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ : วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. https://web.mbuslc.ac.th/article/
ธีรพงษ์ จันเปรียง. (2564). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. บริษัท บุ๊ค แอนด์ บ๊อกซ์ ออฟเซท พริ้นท์ จำกัด.
ธีรพงษ์ จันเปรียง. (2565). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน[งานวิจัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
นิตยา มณีวงศ์. (2562). ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์แบบแอปพลิเคชัน
ในช่วงวิกฤต COVID-19. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ปรียาดา ตาปิงแก้ว. (2562).กระบวนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ 5 steps GOCQF. https://inskru.com/idea/-MQ2Yn4XrqsjDF9SlslH.
วรธาน เทคโนโลยี. (2562).การเรียนการสอนออนไลน์. https://www.worathan.co.th/.
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2564). คู่มือการจัดการเรียนรู้ออนไลน์. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Bergmann J. & Sams A. (2012). Flip your class. Reach Every Student in Every Class Every Day. International Society for Technology
in Education.
Gradmusings. (2020). Flipped Classroom. https://sites.psu.edu/gradmusings/2020/03/01/flipping-it-up-w-flipped-
classroom/
Google. (2021). Google Apps for Education. https://www.google.com/search?q=Google+Apps+for+Education&tbm=isch&ved=/
Jonathan Bergmann & Aaron Sams. (2012). Flip your classroom: reach every student in every class every day. ISTE..
Kachka P. (2012). Educator’s Voice: What’s All this Talk about Flipping.
http://www.pearsonlearningsolutions.com/ academic-xecutives/blog/tag/flipped-classroom/.
Partnership for 21st Century Skills. (2009). Framework for 21st Century Learning.
http://www.battelleforkids.org/networks/.
Polyflip. (2020). The Flipped Classroom. https://www.polyflip.eu/Flipped-classroom-in-theory/.
Wei Bao. (2020). COVID‐19 and online teaching in higher education: A case study of Peking University. Human behavior and emerging technologies, 2(2), 113-115.
Worathan Technology (2021). Online learning. https://www.worathan.co.th/.