ปัญหากฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางทะเลตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิธีการระงับข้อพิพาททางทะเลตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ทางทะเล โดยกำหนดถึงการใช้ทรัพยากรทางทะเลหรือการใช้ประโยชน์ทางทะเลที่รัฐต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ซึ่งเป็นพันธกรณีตามอนุสัญญาและเมื่อเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้ทะเลขึ้น ย่อมสามารถใช้วิธีการระงับข้อพิพาททางทะเลโดยตรงได้ ผลการศึกษาพบว่า อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 แม้จะกำหนดวิธีการระงับข้อพิพาททางทะเลไว้แล้วก็ตาม แต่ยังคงมีปัญหาหรือช่องว่างทางกฎหมายอยู่ กล่าวคือ วิธีการระงับข้อพิพาทที่กำหนดไว้ในอนุสัญญานี้ยังคงไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากว่าอนุสัญญาเปิดช่องให้รัฐคู่พิพาทมีโอกาส หรืออิสระในการเลือกวิธีระงับข้อพิพาทแบบสันติมากจนเกินควร ทำให้วิธีการระงับข้อพิพาทโดยทางศาลที่มีผลบังคับไม่เกิดผลและอาจส่งผลให้ข้อพิพาทนั้นไม่ถูกระงับแลยังคงค้างเป็นปัญหาต่อไป และกลายเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขได้ ดังนั้น จึงเกิดเป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการระงับข้อพิพาททางทะเลตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ในเรื่องของการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี และวิธีการระงับข้อพิพาทที่มีผลวินิจฉัยบังคับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
เกียรติพงษ์ พิมพ์ใจใส. (2535). นายทหารพระธรรมนูญกับกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารเรือในการคุ้มครองผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล.เอกสารประจำภาควิทยาลัยการทัพเรือ.
จันตรี สินศุภฤกษ์. (2562). กฎหมายระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์นิติธรรม.
จตุรนต์ ถิระวัฒน์. (2563). กฎหมายระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์เดือนตุลา.
จุมพต สายสุนทร. (2534). ย่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล. สำนักพิมพ์นิติธรรม.
นิสิตตา หงส์ชูเกียรติ. (2546). การระงับข้อพิพาทโดยวิธีการประนอมที่มีลักษณะบังคับตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยศพนธ์ นิติรุจิโรจน์. (2564). การระงับข้อพิพาททางทะเลไทยเมียนมาภายใต้กลไกระงับข้อพิพาทของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982: บทเรียนจากคดีทะเลจีนใต้. วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 4(1), 131-158.
สมชัย ศิริสมบูรณ์เวช. (2553). กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สิทธานต์ สิทธิสุข. (2535). ประสิทธิภาพของวิธีการระงับข้อพิพาทที่มีลักษณะบังคับในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
PCA Case Nº 2013-19. (2016). In the Matter of the South China Sea Arbitration: The Republic of the Philippines v. The People’s Republic of China. Registry: Permanent Court of Arbitration.