ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจที่มีต่อสื่อกิจกรรมภูมิปัญญากีฬาพื้นบ้าน ภาคตะวันออกกับทัศนคติที่มีต่อกีฬาพื้นบ้านภาคตะวันออกของนักเรียนใน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

วิรัตน์ สนธิ์จันทร์
สราลี สนธิ์จันทร์
สมพร ส่งตระกูล
ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์
วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีต่อสื่อกิจกรรมภูมิปัญญากีฬาพื้นบ้าน 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีต่อกีฬาพื้นบ้านภาคตะวันออกภายหลังที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมภูมิปัญญากีฬาพื้นบ้าน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจที่มีต่อสื่อกิจกรรมภูมิปัญญากีฬาพื้นบ้านกับทัศนคติที่มีต่อกีฬาพื้นบ้านภาคตะวันออกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามความพึงพอใจและทัศนคติที่มีต่อสื่อกิจกรรมกีฬาพื้นบ้านภาคตะวันออก โดยมีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.7-1.0 และค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และหาความสัมพันธ์ด้วยการสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation) กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อกิจกรรมภูมิปัญญากีฬาพื้นบ้านเท่ากับ 4.66, S.D.=0.33 อยู่ในระดับมากที่สุด และทัศนคติที่มีต่อกีฬาพื้นบ้านภาคตะวันออกเท่ากับ 4.61, S.D.=0.38 อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจที่มีต่อสื่อกิจกรรมภูมิปัญญากีฬาพื้นบ้านกับทัศนคติที่มีต่อกีฬาพื้นบ้านภาคตะวันออก พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.71 อยู่ในระดับมาก และสรุปได้ว่าสื่อกิจกรรมภูมิปัญญากีฬาพื้นบ้านเป็นช่องทางในการสื่อสารไปยังนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้เกิดความพึงพอใจได้ นอกจากนั้นยังพบว่าความพึงพอใจมีความสัมพันธ์กับมีทัศนคติที่มีต่อกีฬาพื้นบ้านภาคตะวันออกในระดับมากอีกด้วย

Article Details

How to Cite
สนธิ์จันทร์ ว., สนธิ์จันทร์ ส., ส่งตระกูล ส., จุลวนิชย์พงษ์ ธ., & ทรัพย์วิระปกรณ์ ว. (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจที่มีต่อสื่อกิจกรรมภูมิปัญญากีฬาพื้นบ้าน ภาคตะวันออกกับทัศนคติที่มีต่อกีฬาพื้นบ้านภาคตะวันออกของนักเรียนใน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 127–138. https://doi.org/10.14456/issc.2023.12
บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา. (2557). การละเล่นพื้นบ้านไทย. โรงพิมพ์เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.

กุลิสสรา จิตรชญาวนิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ จำกัด.

ดวงพร คํานูณวัฒน์, เนตรหงษ์ ไกรเลิศกุลธิดา จันทร์เจริญ, ดวงแข บัวประโคน, สุนิดา ศิวปฐมชัย และ สิรินทร พิบูลภานุวัธน์. (2553). สื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะเยาวชน. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 29(2), 89-110.

ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร. (2562). ทัศนคติและความพึงพอใจต่อสื่อสุนทรียะที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ.

วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 11(ฉบับพิเศษ), 68-81.

ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2548). การสื่อสารประเด็นสาธารณะและการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พนม คลี่ฉายา. (2556). ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อ และนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 31(2), 1-26.

เมธาวี แก้วสนิท. (2559). ความต้องการรูปแบบและลักษณะเนื้อหาสื่อกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจประชาคมอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(96), 82-93.

วนิดา เณรานนท์, รุจา ภู่ไพบูลย์ และ ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล. (2561). ผลของชุดกิจกรรมสื่อเกมคอมพิวเตอร์ต่อทัศนคติ การรับรู้บรรทัดฐานและการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเกื้อการุณย์, 25(1), 73-89.

วงศกร สิงหวรวงศ์. (2561). กระบวนการสื่อสารและปัจจัยการสื่อสารที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจ เข้าร่วมกลุ่มรณรงค์การ

ใช้จักรยานของกลุ่มปั่นเดะ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สหรัฐ ลักษณะสุต. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขันเพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 247-262.

สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล, นิสากร ยินดีจันทร์, อังศุมาริน สุชัยรัตนโชค, ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา, จเร เถื่อนพวงแก้ว, ปฏิภาณ กิตตินันทวัฒน์, ทอมมี่ เจนเสน และ Mwangati Whenda-Bhose NG oli. (2563). ความพึงพอใจของ นักศึกษาต่อหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์ (สองภาษา) คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 3(2), 107-120.

อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อมรา กล่ำเจริญ. (2553). เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน. โอเดียนสโตร์.

อิศเรศ คำแหง. (2553). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครกับกิจกรรม

รณรงค์ในช่วงเทศกาลของมูลนิธิเมาไม่ขับ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์, บรรณาธิการ. (2550). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น: สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.