กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องฉลาดเกมส์โกง (2560)

Main Article Content

ปิยภัทร นันทนรเศรษฐ์
ปัทมวดี จารุวร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องฉลาดเกมส์โกง (2560)” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์เรื่องฉลาดเกมส์โกง ทำให้ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จ 2) เพื่อศึกษาการดำเนินกลยุทธ์ในการสร้างภาพยนตร์ การทำการตลาด และการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องฉลาดเกมส์โกง การวิจัยนี้ใช้วิธีดำเนินการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องการผลิตภาพยนตร์เรื่องฉลาดเกมส์โกง และศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง


ผลการวิจัยพบว่า


1) ภาพยนตร์เรื่องฉลาดเกมส์โกงที่สร้างโดยบริษัทจีดีเอช 559 มีกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ โดยเริ่มตั้งแต่การแสวงหาข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจและมีความเกี่ยวข้องกับบริบทของสังคมไทย ได้แก่ การโกงข้อสอบ มาใช้เป็นแนวความคิดหลัก และแก่นเรื่อง จากนั้นจึงคัดเลือกทีมงานที่มีจุดเด่นในการพัฒนาเนื้อเรื่องในแนวทางที่แปลกใหม่ ช่วยกันระดมสมองเพื่อปรับปรุงและพัฒนาเป็นบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ ทำให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมและเอาใจช่วยตัวละครให้ทำภารกิจได้สำเร็จแม้จะเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรม


2) การทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องฉลาดเกมส์โกงมีการเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับกลุ่มผู้ชม และเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้ชมหลายกลุ่มมากขึ้น โดยใช้การออกแบบใบปิดภาพยนตร์ที่ไม่ใช้ชุดนักเรียนเป็นจุดขาย เพื่อให้กลุ่มผู้ชมที่เลยวัยศึกษาไปแล้วไม่รู้สึกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องราวของเด็กนักเรียนโกงข้อสอบทั่วไปเท่านั้น เป็นการขยายฐานกลุ่มผู้ชมให้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
นันทนรเศรษฐ์ ป., & จารุวร ป. (2023). กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องฉลาดเกมส์โกง (2560). วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(3), 94–103. https://doi.org/10.14456/issc.2023.46
บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา เกิดดี. (2543). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์: การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ. สถาพรบุ๊คส์.

กันต์หทัย เกษชุทพล. (2553). การนำเสนอเนื้อหาสารในตัวอย่างภาพยนตร์เพื่อการส่งเสริมการตลาดภาพยนตร์ไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กำจร หลุยยะพงศ์ และ สมสุข หินวิมาน. (2552). ภาพยนตร์ไทยในรอบสามศตวรรษ (พ.ศ.2520 - 2547) : กรณีศึกษาตระกูลหนังผีหนังรักและหนังยุคหลังสมัยใหม่. สำนักพิมพ์ศยาม.

ฉัตรระวี มหิธิธรรมธร. (2558). พัฒนาการทางความคิดและการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ของบรรจง ปิสัญธนะกูล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชาภัทร ศรีสุคนธ์. (2560). การวิเคราะห์ด้านการสื่อสารของสื่อภาพยนตร์ตัวอย่างที่มีรายได้สูงสุดตลอดกาล. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พนิดา สมภพกุลเวช. (2544). บทบาทของภาพยนตร์ตัวอย่างในการนำเสนอเพื่อโน้มน้าวใจ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทริยา วิริยะศิริวัฒนะ. (2558). การวิเคราะห์การเล่าเรื่องในภาพยนตร์เรื่อง LES MISERABLES. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สิปปภาส ตรังสันต์. (2553). ปัจจัยความสำเร็จของภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2542 – 2552. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิทธิฤทธิ์ อึ้งสกุล. (2556). กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดีของจีทีเอช. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chip and Dan Heath. (2007). Made to Stick: Why Some Ideas Survive and Others Die. Random House

Krisda Kerddee. (2010). Exploring The Kingdom of Thai Film Genres : A Study of Thai Films, 2005 – 2009.