สาเหตุและผลของความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Main Article Content

นิธิธรรม ศุนาลัย
รวิภา ธรรมโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจที่สังกัดกองบัญชาการศึกษา (2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานและการจัดการแบบมีส่วนร่วม ที่ส่งผลทางตรงต่อความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน (3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานและการจัดการแบบมีส่วนร่วม ที่ส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานผ่านความผูกพันต่อองค์การ และ (4) ศึกษาอิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ได้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสำรวจ ซึ่งมีแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีหน่วยวิเคราะห์ คือ บุคคล จากข้าราชการตำรวจที่อยู่ในสังกัดกองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 535 นาย และได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบช่วงชั้นอย่างมีสัดส่วน เพื่อเก็บแบบสอบถาม โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่รวบรวมได้มีทั้งสิ้น 308 คน ใช้การวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างในการทดสอบสมมติฐาน


ผลจากการวิจัยพบว่า  


1) ระดับความผูกพันต่อองค์การ ประกอบด้วย ความผูกพันด้านจิตใจ ความผูกพันด้านการคงอยู่ และความผูกพันด้านบรรทัดฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก         


2) ตัวแปรคุณภาพชีวิตในการทำงาน และตัวแปรการจัดการแบบมีส่วนร่วมมีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันต่อองค์การ (DE = 0.45 และ 0.47) และมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน (DE = 0.27 และ 0.21)


3) ตัวแปรคุณภาพชีวิตในการทำงาน และตัวแปรการจัดการแบบมีส่วนร่วมมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน (IE = 0.53 และ 0.44) ผ่านความผูกพันต่อองค์การ


4) ตัวแปรความผูกพันต่อองค์การ มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน (DE = 0.30)  


            จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า การเสริมสร้างให้ข้าราชการตำรวจมีความผูกพันต่อหน่วยงานมากขึ้น ต้องมี นโยบายการยกระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจและการให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดเข้ามามีส่วนในการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการบริหารงานของตน จะส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่ในทางที่ดีขึ้น นโยบายดังกล่าวควรดำเนินการเร่งด่วน สิ่งเหล่านี้ คือ สิ่งที่ผู้บังคับบัญชาสามารถทำได้เพื่อเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ และเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลในทุกภารกิจ

Article Details

How to Cite
ศุนาลัย น., & ธรรมโชติ ร. (2023). สาเหตุและผลของความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(3), 67–80. https://doi.org/10.14456/issc.2023.44
บท
บทความวิจัย

References

ไกรฤกษ์ เกษมสันต์. (2561, 30 เมษายน). ตำรวจเป็นเสาหลักของความยุติธรรม. https://www.matichon.co.th

นันทกา สวัสดิพานิช และสุจิตรา เทียนสวัสดิ์. (2554). การแปลเครื่องมือเพื่อใช้ในงานวิจัยข้ามวัฒนธรรม: เทคนิคและประเด็นที่ต้องพิจารณา. วารสารสภาการพยาบาล, 26(1), 19-28.

ปานกมล ทรัพยสารและกัลยาณี เสนาสุ. (2559). ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างความผูกพันต่อองค์กรการสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร.วารสารช่อพะยอม, 27(2), 63-72.

ปาริชาติ หงส์เกียรติขจร วิทมา ธรรมเจริญ และรุ่งรัตน์ เชื้อแก้ว. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรและการปฏิบัติงาน.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39(1), 96-119.

วัชรพล เจริญเวชและชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคนประจำเรือขนส่งน้ำมันในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11( 2), 2677-2693.

สมศิริ จิตรประเสริฐ เกษมชาติ นเรศเสนีย์ และบุญเลิศ ไพรินทร์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(2), 156-169.

Allen, N.J. and Meyer, J.P. (1990) The Measurement and Antecedents of Affective, Continuance, and Normative Commitment to the Organization. Journal of Occupational Psychology, 63(4), 1-18.

Eisinga R., et al. (2012). The reliability of a two-item scale: Pearson, Cronbach or Spearman-Brown. International Journal of Public Health, 58(4), 637-42.

Gahlawat, N. & Kundu, S.C (2019).Participatory HRM and firm performance: Unlocking the box through organizational climate and employee outcomes. Employee Relations: The International Journal, 41(5),1098-1119.

Gopal,A & Gosain,S. (2010). The Role of Organizational Controls and Boundary Spanning in Software Development Outsourcing: Implications for Project Performance. Information Systems Research, 21(4), 960–982.

Hair, J. F.et al. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Pearson Education.

Leitão, J., Pereira,D. & Gonçalves,A. (2019). Quality of Work Life and Organizational Performance: Workers’ Feelings of Contributing, or Not, to the Organization’s Productivity. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16(20), E3803.

Memili, E., & Welsh, D. H. B. (2012). Towards a theory of non-family employees’ organizational identification. Journal of Technology Management in China, 7(3), 255 – 269.

Nasirizade,M. et al.(2017).The Relationship Between Quality of Work Life and Organizational Effectiveness Among Hospital Nurses. Modern Care Journal, 14(1), E63815.

Njuguna,E.N., Mulit,J.V. & Wainaina,L. (2021). Participatory management initiatives, employees commitment and employees’ performance: An exploratory study among employees in water service providers in Kenya. International Journal of Health Economics and Management, 10(7), 1-8.

Okiomah, O.P. (2020). Participatory management and organizational performance of manufacturing firms rivers state. International Academy. Journal of Business Administration Annals, 6(1), 43-50.

Paramita1,E., Lumbanraja,P. & Absah,Y. (2010).The Influence of Organizational Culture and Organizational Commitment on Employee Performance and Job Satisfaction as a Moderating Variable at PT. Bank Mandiri (Persero), Tbk .International Journal of Research and Review,7(3), 273-286.

Park, J., Lee, K.-H., Kim, P.S. (2016).Participative management and perceived organizational performance : The moderating effects of innovative organizational culture. Public Performance and Management Review, 39(2), 316-336.

Ramawickrama, J.,Opatha,H.H.D.N. & Pushpakumari (2019). Mediating Role of Organizational Commitment on the Relationship between Quality of Work Life and Job Performance: A Study on Station Masters in Sri Lanka Railways, South Asian. Journal of Management; New Delhi, 26(3), 7-29.

Shaw, J.D., Delery, J.E. and Abdulla, M.H.A. (2003). Organizational commitment and performance among guest workers and citizens of an Arab country. Journal of Business Research, 56(5), 1021-1030.

Steers, R.M. (1977). Organization Effectiveness. Goodyear.

Taghavi.S. et al.(2014). A study of the relationship between quality of work life and performance effectiveness of high school teachers' in Shirvan. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 4(1). 1-7.

Walton, R.(1973). Quality of Working Life: What is it? Sloan. Management Review, 1(5),11–21.

Widayanti,W. & Palupiningdyah (2019). The Effect of Quality of Work life and motional Intelligence on Performance as variable organizatinal commitment through mediation. Management Analysis Journal, 8(1),68-78.