การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ครรชิต มาระโภชน์
ทักษินาฏ สมบูรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวของอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับพัฒนาการท่องเที่ยวของอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อความเหมาะสมของเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสอบถามความเหมาะสมของเส้นทางการท่องเที่ยว


            ผลการวิจัยพบว่า


            ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่อำเภอพนมสารคามเมื่อนำมาพัฒนาเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยการนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตการเกษตร ร่วมกับผลผลิตทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงในรูปแบบรายการนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่สามารถส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวภายในระยะเวลา 1 วัน ทำให้เกิดการบริโภคสินค้าทางการเกษตร และอาหารท้องถิ่น เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการทางการเกษตร ประกอบด้วย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  บ้านเมล่อน ฟาร์ม ไร่หม่อนมงคล สินค้าที่มีชื่อเสียงของอำเภอพนมสารคาม คือ ขนมกุยช่าย ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ และผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ เช่น ผักปลอดสารพิษ เห็ด หม่อน เมล่อน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอพนมสารคาม มีความคิดเห็นว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวอำเภอพนมสารคามควรส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยการพัฒนาสถานที่ให้สามารถต้อนรับและรองรับนักท่องเที่ยวได้  การพัฒนาเส้นทางการเดินทาง การหาจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวแล้วนำมาส่งเสริมเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวและการประชาสัมพันธ์ เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตร “สิ่งดีดีที่พนมสารคาม” ประกอบด้วยสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร อาหารท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง และสินค้าท้องถิ่นที่มีคุณภาพ กิจกรรมในการท่องเที่ยว 1 วัน ประกอบด้วย การเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร การนั่งรถบริการนำชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การเรียนรู้การเกษตรที่บ้านเมล่อน ฟาร์ม ไร่หม่อนมงคล และ เบนซ์ ไฮโดรโปนิกส์ การรับประทานก๋วยเตี๋ยวปากหม้อที่มีชื่อเสียงของอำเภอพนมสารคาม และซื้อขนมกุยช่ายในแหล่งผลิตที่มีชื่อเสียง


ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตร พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นว่าเส้นทางมีความเหมาะสมในระดับมาก คือ ความเหมาะสมของ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รองลงมาคือ ความเหมาะสมของพาหนะที่ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยว และ ความเหมาะสมของ “ไร่หม่อนมงคล” ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความสะอาดและเพียงพอของห้องน้ำภายในแหล่งท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
มาระโภชน์ ค., & สมบูรณ์ ท. (2023). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(4), 210–223. https://doi.org/10.14456/issc.2023.74
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ มาระโภชน์ และ ครรชิต มาระโภชน์. (2558). การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย : กรณีศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554, 17 มิถุนายน). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. http://www.mots.go.th.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561, 4 มกราคม). ททท. เปิดแคมเปญ Amazing Thailand Go Local เร่งกระแสท่องเที่ยว 55 เมืองรอง หลังรัฐบาลประกาศลดหย่อนภาษี. https://thai.tourismthailand.org.

ครรชิต มาระโภชน์. (2555). การพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยวสำเร็จรูปเพื่อตอบสนองความต้องการพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย : กรณีศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ครรชิต มาระโภชน์ และชุติมา รุ่นประพันธ์. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนในกลุ่มจังหวัดเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ครรชิต มาระโภชน์ และทักษินาฏ สมบูรณ์. (2558). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อการเรียนรู้ :กรณีศึกษาตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ครรชิต มาระโภชน์, รัชฏาพร วงษ์โสพนากุล และอารียา บุญทวี. (2560). รายงานการศึกษาข้อมูลด้านอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา ในโครงการ “การปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนา (Reprofiling). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

โชค บูลกุล. (2556). เข้าใจวิถี “เกษตรกรรมสีเขียว” ผ่านการท่องเที่ยวฟาร์มโชคชัย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 8(1), 14.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์ และวีระยุทธ พิมพาภรณ์. (2565). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อดิจิทัล ต่อความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยว ในบทบาทของความเชื่อมั่นในข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(1), 50-60.

นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 17). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). ธุรกิจนำเที่ยว. ธรรมสาร.

บุญเลิศ จิตตั้ววัฒนา และภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง. (2549). การจัดนำเที่ยวและรายการนำเที่ยวภาคเหนือตอนบน. เพลส แอนด์ ดีไซน์.

พงศ์พิชาญ สุอังคะวาทิน. (2558). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมท่องเที่ยวของหมู่บ้านมังกรสวรรค์ลี่เจียง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 59-70.

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2560). ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เรื่อง รับข้อเสนอโครงการวิจัยภายใต้โครงการยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการกรณีศึกษา “การพัฒนาเกษตรปลอดภัยเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากสู่การสร้างอาชีพในท้องถิ่น”. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. (2555). แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดฉะเชิงเทรา ภายใต้โครงการ “Miracle of 8” มหัศจรรย์เมืองแปดริ้ว ปีท่องเที่ยวฉะเชิงเทรา. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชลบุรี เขตท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

สมพงษ์ เส้งมณีย์, วิฆเนศวร ทะกอง, เสาวนีย์ วรรณประภา, ภารดี พึ่งสำราญ และกาญจนา สมพื้น. (2564). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(2), 69-79.

สรัสวดี อาสาสรรพกิจ. (2540). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม. จุลสารการท่องเที่ยว, 16(1), 1-3.

สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2559). โซนท่องเที่ยวของจังหวัดฉะเชิงเทรา. เอกสารประกอบโครงการส่งเสริมบทบาทผู้นำท้องถิ่นและชุมชนด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อใช้โอกาสในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. วันที่ 4-6 ตุลาคม 2559.

สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2558, 10 กุมภาพันธ์). แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ.2557-2560). http://www.province.chachoengsao.go.th.

สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2559). (ร่าง)แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ.2561-2564).

สินธุ์ สโรบล, อุดร วงษ์ทับทิม, สุภาวิณี ทรงพรวาณิชย์, เบญจวรรณ วงศ์คำ และอนงค์นาฎ ปัญโญใหญ่. (2556). การท่องเที่ยวโดยชุมชน: แนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. เชียงใหม่ : วนิดา เพลส.

Bowler, I., Clark, G., Crockett, A., Ilbery, B. and Shaw, A. (1996). The development of alternative farm enterprises: A study of family labour farms in the Northern Pennines of England. Journal of Rural Studies, 12(3), 285-295.

Carol, K., David, C., Yu-Fai, L., Staycy, S. (2007). Sustainable Farm Tourism : Understanding and Managing Environmental Impacts of Visitor Activities. Journal of Extension, 45(2), 12-23.

Hall, D. (2014.) Rural tourism development in southeastern Europe: transition and the search for sustainability. The international journal of tourism research, 6(3),165.

McGehee, N.G. (2007). An agritourism systems model : A Weberian perspective. Journal of sustainable tourism. 15(2), 111-124.

Orlic & Brscic. (2014). The role of hospitality in agrotourism. Tourism & Hospitality Management 2012, Conference Proceedings. http://search.proquest.com/docview/1438914911/fulltextPDF/B711B84D72FA4667PQ/2?accountid=32106. [2014, March 16]

Wicks, B.E. & Merrett, C.D. (2003). Agritourism : An economic opportunity for Illinois. Rural Research Report, 14(9), 1-8.