การออกแบบงานสร้างของดันเต้ เฟอร์เร็ดตี้ ในภาพยนตร์ย้อนยุค

Main Article Content

จิรภา เพิกแสง
บรรจง โกศัลวัฒน์
ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์
ปัทมวดี จารุวร
เจตน์ศักดิ์ แสงสิงแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ย้อนยุคของดันเต้ เฟอร์เร็ตตี้ ซึ่งมุ่งที่จะศึกษา และวิเคราะห์การออกแบบงานสร้างในภาพยนตร์ โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นวิธีการชมภาพยนตร์ของดันเต้ เฟอร์เร็ตตี้ และบันทึก (Note Taking) ในระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการชมภาพยนตร์ เพื่อทำการศึกษาการออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ย้อนยุคของดันเต้ เฟอร์เร็ตตี้ ทั้ง 3 เรื่อง คือ 1) The Aviator (บินรักบันลือโลก) 2) Sweeney Todd: The Demon Barber of Fleet Street (สวีนนีย์ ท็อดด์ บาร์เบอร์ หฤโหดแห่งถนนฟลีท)  3) Hugo (ปริศนามนุษย์กลของฮิวโก้) ซึ่งเกณฑ์ในการเลือกคือ ต้องเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์สาขาออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000–2018 ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ย้อนยุคของ ดันเต้ เฟอร์เร็ตตี้นั้น มีความโดดเด่นเรื่องการออกแบบงานสร้างให้ดูมีความสมจริง ถูกต้อง และน่าเชื่อถือตามยุคสมัยพร้อมยังมีการออกแบบให้สอดคล้องกับตัวละครอีกด้วย โดยการทำงานของผู้ออกแบบงานสร้างนั้นมีผลต่อบรรยากาศ และอารมณ์ของเรื่องราว (Mood and Tone) แสดงให้เห็นในภาพยนตร์ ซึ่งภาพยนตร์ที่มีการออกแบบงานสร้าง และเห็นได้อย่างชัดเจน คือ Sweeney Todd: The Demon Barber of Fleet Street (สวีนนีย์ ท็อดด์ บาร์เบอร์ หฤโหดแห่งถนนฟลีท) และ Hugo (ปริศนามนุษย์กลของอูโก้) ส่วนภาพยนตร์เรื่อง The Aviator (บินรักบันลือโลก) นั้นเน้นสร้างฉากให้สอดคล้องกับอัตชีวประวัติของตัวละครในภาพยนตร์

Article Details

How to Cite
เพิกแสง จ., โกศัลวัฒน์ บ., โล่ห์พัฒนานนท์ ฐ., จารุวร ป., & แสงสิงแก้ว เ. (2023). การออกแบบงานสร้างของดันเต้ เฟอร์เร็ดตี้ ในภาพยนตร์ย้อนยุค. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(2), 116–126. https://doi.org/10.14456/issc.2023.30
บท
บทความวิจัย

References

เขมพัทธ์ พัชรวิชญ์. (2552). ศึกษาการออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ไทย. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ฉลองรัตน์ ทิพย์พิมาน. (2539). วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์อเมริกันที่มีตัวเอกเป็นสตรี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล วงษ์ชื่น. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้มู้ดแอนด์โทนของผู้ชมภาพยนตร์ไทยในการออกแบบงานสร้างภาพยนตร์แนวสยองขวัญ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดันเต้ เฟอร์เร็ตตี้. (2564, 17 กันยายน ). งานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 77. https://www.wikipedia.org/.

ดันเต้ เฟอร์เร็ตตี้. (2564, 17 กันยายน ). งานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 80. https://www.movie.mthai.com.

ดันเต้ เฟอร์เร็ตตี้. (2564, 17 กันยายน). งานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 84. https://www.wikipedia.org/.

เถกิง พัฒโนภาษ. (2540). วารสารวิชาการ. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัพพ์เทพ ภาปราชญ์. (2559). Film Directing การกำกับภาพยนตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นพพร ประชากุล. (2558). Mythologies / by Roland Barthes (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

นับทอง ทองใบ. (2016). กลวิธีการเล่าเรื่องและการสร้างบุคลิกลักษณะของตัวละครในหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 16(2), 29-39.

ประวิทย์ แต่งอักษร. (2548). ทฤษฏีและการวิจารย์ภาพยนตร์เบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ. (2544). ศิลปะภาพถ่ายและภาพยนตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เยาวนันท์ เชฎฐรัตย์. (2556). การผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัตนา จักกะพาก และจิรยุทธ์ สินธุพันธ์. (2545). จินตทัศน์ทางสังคมและกลวิธีการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ของสัตยาจิต เรย์ : การศึกษาวิเคราะห์. ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพันธุ์ ประสิทธิรัตน์. (2558). สารานุกรมศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัญชลี ชัยวรพร. (2548). ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัญญรัตน์ ไชยชนะ. (2560). บทบาทของตัวละครหญิงในภาพยนตร์ของ ก้องเกียรติโขมศิริ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

Amphur. (2563, 19 กันยายน ). หุ่นยนต์อัตโนมัติต้นแบบของ Automaton ในหนัง Hugo(2012). www.amphur.in.th/jaquet-droz-automata.

Brutto. (2002). The Filmmaker's Guide to Production Design. Allworth

Wizardry. (2552, 30 มกราคม). สถาปัตยกรรมยุควิคตอเรียน ปี (1837-1901). http://wizardry-llws.blogspot.com/2009/09/1837-1901.html.

WORKON. (2562, 18 กันยายน). การค้นพบฟิล์มหนังที่สาบสูญของนักรังสรรค์ความฝันในโลกภาพยนตร์คนแรกของโลก. https://www.wurkon.com/blog/41-georges-melies?%20Fbclid%20=IwAR3%20DbIwBYZ.