กลวิธีการเล่าเรื่องตามแนวคิด Magical Realism ในภาพยนตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องกลวิธีการเล่าเรื่องตามแนวคิด Magical Realism ในภาพยนตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิธีการเล่าเรื่อง (How to Narrate) ภายใต้กระบวนทัศน์การเล่าเรื่องโดยใช้ตรรกะภายในเรื่องเล่า (Internal Logic) จากภาพยนตร์ที่เลือกมาแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 3 เรื่อง จากต่างประเทศจำนวน 2 เรื่อง และภาพยนตร์ไทย 1 เรื่อง นำมาทำการวิเคราะห์ผ่านองค์ประกอบหลักตาม แนวคิด Magical Realism ร่วมกันกับองค์ประกอบการเล่าเรื่องและทฤษฎีสัญญะ ผลการวิจัยพบว่า วิธีการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ทั้ง หมดเป็นการผูกเรื่องที่เป็นโครงเรื่อง (Plot) ที่แต่งขึ้นมา โดยใช้แนวคิด Magical Realism ทั้ง 5 ข้อของเวนดี้ บี.ฟาริส มาผูกเข้ากับ Theme, Conflict, Setting, Narrative Point of View และ Symbol ที่รวมไปถึงการตัดต่อภาพทุกภาพ เสียงทุกเสียง คำพูดทุกคำที่ปรากฏขึ้นมาในภาพยนตร์ ผนวกเข้ากับทฤษฎีสัญญะตามแนวคิดของ Roland Barthes เพื่อสร้างความหมายนัยประหวัด (Connotation) มาใช้ประกอบสร้างร่วมกันขึ้นมาเป็นกลวิธีการเล่าเรื่องตามแนวคิด Magical Realism ในภาพยนตร์และจากการวิเคราะห์ภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องยังได้พบว่า ความมหัศจรรย์หรือความเหนือจริงที่ถูกนำมาใช้ในภาพยนตร์ ไม่ได้เป็นเพียงแค่การนำมาเพื่อสร้างความรู้สึกแปลกตา สวยงาม หรือดูประหลาด มีความเหนือจริงแบบแฟนตาซี (Fantasy) ที่ให้ความตื่นตาตื่นใจเพื่ออรรถรสความบันเทิงทางสายตาเมื่อได้รับชมเพียงเท่านั้น เพราะจากผลการศึกษาทำให้เห็นว่า การทำงานของแนวคิด Magical Realism นั้นเน้นวัตถุประสงค์หลักไปที่การเล่าเรื่อง โดยได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่องราวความจริงของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง เป็นกลวิธีที่ใช้ความมหัศจรรย์มาทำหน้าที่ขยายมิติความเป็นไปได้ของความจริงที่ผู้เล่าต้องการนำเสนอโดยผสมผสานความจริงและจินตนาการ ให้เห็นออกมาเป็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นบนพื้นฐานชุดความจริงของตรรกะภายในเรื่องเล่าและโครงสร้างของสังคมนั้น ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
เกศวรางค์ นิลวาส. (2552). การวิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัยแนวสัจนิยมมหัศจรรย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ขจิตขวัญ กิจวิสาละ. (2553). ความหมายของการขัดขืนอำนาจของสังคมผ่านการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ไทย ระหว่าง พ.ศ. 2513-2550. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2559). สัจนิยมมหัศจรรย์ในงานของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, โทนี มอร์ริสัน และวรรณกรรมไทย. โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
ภาสุรี ลือสกุล. (2561). สัจนิยมมหัศจรรย์ในลาตินอเมริกา : ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ วรรณกรรม. โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัยคณะอักษรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2558). การเขียนบทภาพยนตร์บันเทิง. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Lois Parkinson Zamora, & Wendy B. Faris (Eds.). (1995). Magical Realism : Theory, History, Community. Duke University Press.