การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์บ้านมอทะ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

Main Article Content

ทิพย์หทัย ทองธรรมชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์บ้านมอทะ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก 2) พัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์บ้านมอทะ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์บ้านมอทะ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่ ปราชญ์ชุมชน เจ้าของโฮมสเตย์ ตัวแทนชุมชน และนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1) การวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์บ้านมอทะ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ได้แก่ ข้อมูลการสร้างโลโก้โฮมสเตย์ ข้อมูลการเดินทาง ข้อมูลการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยว และ ข้อมูลการออกแบบโปรแกรมการท่องเที่ยวโฮมสเตย์บ้านมอทะ


2) การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ฯ ได้แก่ สื่ออินโฟกราฟิก และแผนที่การท่องเที่ยว และ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์บ้านมอทะ พบว่า ผู้ใช้สื่อมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (=4.34, S.D.=0.79)

Article Details

How to Cite
ทองธรรมชาติ ท. (2023). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโฮมสเตย์บ้านมอทะ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(3), 53–66. https://doi.org/10.14456/issc.2023.43
บท
บทความวิจัย

References

กนกรัตน์ ดวงพิกุล และ จารุนันท์ เมธะพันธุ์. (2561). โฮมสเตย์กับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดน่าน. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(1), 217-234.

กรมการท่องเที่ยว. (2558). มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย (Thailand Homestay Standard). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ และ คุณอานันท์ นิรมล. (2561). การพัฒนาสื่อส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สะท้อน

อัตลักษณ์ และคุณค่าทางวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง. วารสารครุพิบูล, 6(2), 231-246.

จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์. (2552). ยุทธวิธีการประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนกฤต สังข์เฉย. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

ธีระ อินทรเรือง. (2559). การวางแผนพัฒนาและการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (เอกสารประกอบการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

นิจิรา คลังสมบัติ. (2557). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดอุดรธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45877.

นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. ท้อป.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2549). การท่องเที่ยวชุมชนและบ้านพักแบบโฮมสเตย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นพบุรีการพิมพ์.

เมลดา ธนิตนนท์. (2560). การศึกษาแรงจูงใจและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวบ้านบางเขน [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. Bangkok University (BU). http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2706.

วิมลพรรณ อาภาเวท. (2553). หลักการโฆษณาและประชาสัมพันธ์. โอเดียนสโตร์.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิไกร พิมพขันธ์, ภัสสร ปัทวงค์ และ อภิรดี เดชพงษ์สัมฤทธิ์. (2564). การออกแบบและพัฒนาสื่อแอนิเมชัน 3 มิติเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกการอนุรักษณ์ช้างไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, 1(1), 53-64.

ศิริประภา ประภากรเกียรติ. (2562). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Extraordinary Simple Public Library of Research Result (EXPLORE). http://www.thai-explore.net/file_upload/submitter/file_doc/1737daadf7c3cc0a230725a0cddfef05.pdf.

สมิทธิ์ บุญชุติมา. (2561). การใช้เครื่องมือสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ (การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อกระจายภาพและเสียง อินเตอร์เน็ต และสื่อกิจกรรมพิเศษ). บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). การประชาสัมพันธ์เชิงปฏิบัติ. บริษัท เอเอ็นการพิมพ์ จำกัด.

หทัยชนก ยังสุข และ ภานุพงศ์ แสนจันทร์. (2561). สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัดสุพรรณบุรี [โครงงานพิเศษเทคโนโลยีบัณฑิต]. Rajamangala University of Technology Phra Nakhon (RMUTP). https://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/3449/MCT_63_10.pdf?sequence=1&isAllowed=y.

อธิณัฏฐ์ ด่านภัทรวรวัฒน์. (2561). การใช้อัตลักษณ์เพื่อการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาอำเภอบ้านตาขุน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Prince of Songkla University (PSU). https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12814.

อภิวัฒน์ บุญเนรมิต. (2561). การออกแบบชุดสื่อโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตามแนวทางโอทอปนวัตวิถี (ตำบลคลองโยง

อ.พุทธมลฑล จ.นครปฐม). [จุลนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. Siam University. https://e-research.siam.edu/kb/media-design-for-encourage-community-tourism/.

อภิสรา กฤตาวาณิชย์. (2564). การพัฒนาสื่ออประชาสัมพันธ์ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชาของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 25(2), 140-152.

อรวรรณ แท่งทอง. (2562). การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับประชาสัมพันธ์ชมรมคนรักในหลวง จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิชาการ

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(2), 57-66.

อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉริยาพร คันธมาลาเจริญ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในแนวทางการท่องเที่ยว 4.0 กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Maejo University Library. http://mdc.library.mju.ac.th/thesis/2564/artchariyaporn_kantamalajaroen/fulltext.pdf.

Cutlip M. Scott, Center H. Allen and Broom M. Glen. (1994). Effective Public Relations (7th ed). Englewood Cliffs, N.T.: Prentice Hall.