มาตรการความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ กรณีศึกษา : รถโดยสารขนาดเล็ก และขนาดใหญ่

Main Article Content

บรรจง เหลืองรัตนมาศ
พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) มาตรการความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะกรณีรถโดยสารขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 2) ปัญหาที่เกิดขึ้นจากมาตรการความปลอดภัย และ 3) แนวทางการพัฒนามาตรการความปลอดภัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ตัวแทนในกิจการขนส่งทางบกทั้งภาครัฐและเอกชน


ผลการศึกษาพบว่า


1) มาตรการความปลอดภัยมีทั้งมาตรการที่เป็นนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ และกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐครอบคลุมคุณภาพของตัวรถทั้งรถรับจ้างประจำทางและไม่ประจำทาง ผู้ประกอบการ ผู้ขับขี่ และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ


2) ปัญหาที่เกิดขึ้นจากมาตรการความปลอดภัย พบว่า กฎหมายและระเบียบมีเนื้อหาเก่าและมีความซ้ำซ้อน


3) แนวทางการพัฒนามาตรการความปลอดภัย พบว่า ควรแก้ไขกฎหมายที่ซ้ำซ้อน และจัดทำระบบแผนการปฏิบัติให้ชัดเจนครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องกับรถโดยสารสาธารณะทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่

Article Details

How to Cite
เหลืองรัตนมาศ บ., & ศรีสมทรัพย์ พ. (2023). มาตรการความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ กรณีศึกษา : รถโดยสารขนาดเล็ก และขนาดใหญ่. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(3), 81–93. https://doi.org/10.14456/issc.2023.45
บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. (2559). การวิเคราะห์สถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร

กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก. (2564). สรุปรายงานการวิเคราะห์สถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกปี พ.ศ. 2559-2564. กรุงเทพมหานคร.

กรมการขนส่งทางบก. (2565). ขนส่งทางบกยกระดับรถสาธารณะ มอบใบรับรอง “Q-Bus” เน้น ความปลอดภัย.กรุงเทพมหานคร.

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ. (2560). มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะการควบคุมผู้ประกอบการและผู้ขับขี่ (15/2560). กรุงเทพมหานคร.

ณรงค์ ป้อมหลักทอง และคณะ. (2555). มาตรฐานด้านความปลอดภัยของรถในระบบรถโดยสารประจำทาง: การกำหนดมาตรฐานการบังคับใช้และการตรวจสอบม. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.

ถิรยุทธ ลิมานนท์, ภาวัต ไชยชาณวาทิก, อลงกรณ์ โสภาพันธุ์ และ วรลักษณ์ สุวรรณ. (2557). การพัฒนาระบบการประเมินความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะระหว่างจังหวัดของประเทศไทย. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 4(2), 25-39.

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522. (2522, มกราคม 29). ราชกิจจานุเบกษา, 96 (8).

พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522. (2522, มีนาคม 21). ราชกิจจานุเบกษา, 96 (38).

พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535. (2535, เมษายน 18). ราชกิจจานุเบกษา, 109 (52), 6-18.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2551). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การอนามัยโลก. (2559). การประเมินความปลอดภัยทางถนนในเชิงกฎหมายและเชิงสถาบันประเทศไทย. สำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย.

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). ภาวะสังคมไทย ไตรมาสสี่ และภาพรวมปี 2556. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือน 24 กุมภาพันธ์ 2557.

สมหวัง พิริยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า (พิมพ์ครั้งที่ 5).สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักนายยกรัฐมนตรี. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554. (2554, มกราคม 14). ราชกิจจานุเบกษา, 128 (4ง), 1-9.

ศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรคระบบIDCC, กระทรวงสาธารณสุข. เมษายน, 2564

Federal Motor Carrier Safety Administration (FMCSA). (2010). Special Safety Concerns of the School Bus Industry. Transportation Research Board.

Friman, M., Lättman, K., & Olsson, L. E. (2020). Public Transport Quality, Safety, and Perceived Accessibility. Karlstad University.

Stake, R. E. (1975). To Evaluate an Arts Program. Evaluation the Arts in Education: A Responsive Approach. Columbus.