แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์มาลายา

Main Article Content

ซูซัน หามะ
ชินีเพ็ญ มะลิสุวรรณ
ศุภาวิณี กิติวินิต

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องแนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์มาลายา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้วัฒนธรรมคอมมิวนิสต์มาลายา วิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์มาลายา และนำเสนอแนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์มาลายา ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลหลักที่ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ด้านภูมิปัญญา ปราชญ์ด้านอาหาร ปราชญ์ด้านการใช้ชีวิตในรูปแบบของคอมมิวนิสต์ นักสื่อความหมายของชุมชน มัคคุเทศก์ชุมชน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) องค์ความรู้วัฒนธรรมคอมมิวนิสต์มาลายา ประกอบด้วย องค์ความรู้ด้านอาหาร องค์ความรู้ด้านวิถีชีวิต องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญา


            2) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์มาลายา ประกอบด้วย ศักยภาพด้านทรัพยากร ศักยภาพด้านพื้นที่ ศักยภาพด้านการบริหารจัดการ ศักยภาพด้านกิจกรรม


            3) แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์มาลายา ประกอบด้วย การส่งเสริมให้เกิดการเที่ยวซ้ำ การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น การสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว การกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ฟื้นกลับมาในระยะเวลาที่รวดเร็ว และการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

Article Details

How to Cite
หามะ ซ., มะลิสุวรรณ ช., & กิติวินิต ศ. (2023). แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์มาลายา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(3), 195–205. https://doi.org/10.14456/issc.2023.54
บท
บทความวิจัย

References

ประพัทธ์ชัย ไชยนอก. (2553). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาบ้านด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. [วิทยานิพนธ์รปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Yala Provincial Office. (2018). Yala Provincial Development Strategy.http://www.yala.go.th/circulardetail?cb_id=VmtSR1UyTnJOVkpRVkRBOQ

Office of Model City Drive Project "Triangle of Stability, Prosperity, and Sustainability”. (2017). (Draft) Action Plan Model City Drive Project "Triangle of Stability, Prosperity, and Sustainability”. Southern Border Provinces Administrative Centre.

Strategy and Planning Division. (2018). Tourism and Sports Strategy Plan (4th Edition). Office of Permanent Secretary, Tourism and Sports. Ministry of Tourism and Sports.

Tinlakan. P. (2016). Presenting a community learning model to promote food security. [Unpublished doctoral dissertation]. Chulalonkorn University.

Choktanawanit. P. (2011). Self-reliance.http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=10474209.

Chantun. S. (1993). Local Wisdom and Community Development. Wisdom of Local Foundation.

Serasuthorn. P. (2005). Local wisdom in Phitsanulok. Chulalonkorn University.

Anaeksuk. B. (2015). Concept and Theories of Cultural Tourism. Naresuan University.

Prachachat Business. (2019). The economy of the southern border tourism region grows by 10%, promoting natural and cultural tourism. https://www.prachachat.net/local-economy/news-336009

Tourism Authority of Thailand. (2004). Eco-Tourism from an Insider’s Perspective. Ministry of Tourism.

Suwan. M. (2000). Project on guidelines and tourism management study in the area of responsibility of Subdistrict Administrative Organization and Subdistrict Council. Tourism Authority of Thailand.