สื่อนวัตกรรมอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมรณรงค์การท้องไม่พร้อมก่อนวันอันควร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

ชฎาภรณ์ สวนแสน
ณัฐพงษ์ หมันหลี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องสื่อนวัตกรรมอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมรณรงค์การท้องไม่พร้อมก่อนวันอันควรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้ 2.เพื่อผลิตสื่อนวัตกรรมโมชันกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้ 3.เพื่อศึกษาประโยชน์และความพึงพอใจของสื่อนวัตกรรมโมชันกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รับชมสื่อนวัตกรรมโมชันกราฟิกเพื่อสร้างการรับรู้ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนอันควรก่อนแบบสอบถาม จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random  Sampling) สถิติที่การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้มีค่าเฉลี่ยรวม 3.8 อยู่ในระดับมาก เช่น ด้านพฤติกกรรมเรียนแบบบ ด้านปัจจัยเสริม พบว่า มีความสัมพันธ์กับครอบครัวไม่ดีนัก คิดว่าคนในครอบครัวไม่รัก ไม่ให้ความสนใจ ขาดความเอาใจใส่ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.44 ด้านปัจจัยเอื้อ พบว่า การดื่มของมึนเมา สูบบุหรี่ ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.23 ด้านความรู้เรื่องเพศศึกษา พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษามีการรับรู้เกี่ยวกับตนเองในการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ทำให้พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์จะลดลงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 3.84  ประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อนวัตกรรมอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมรณรงค์การท้องไม่พร้อมก่อนวัยอันควรของนักเรียนมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้ มีค่าเฉลี่ยรวม 3.07 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความพึงพอใจในการชมสื่อนวัตกรรมอินโฟกราฟฟิกเพื่อส่งเสริมรณรงค์การท้องไม่พร้อมก่อนวัยอันควรของนักเรียนมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เฉลี่ยรวม 3.50 อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
สวนแสน ช., & หมันหลี ณ. (2023). สื่อนวัตกรรมอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมรณรงค์การท้องไม่พร้อมก่อนวันอันควร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 150–160. https://doi.org/10.14456/issc.2023.14
บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย สำนักงานอนามัยการเจริญพันธุ์. (2563, 3 ธันวาคม). รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. https://rh.anamai.moph.go.th.

กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง. (2559 10 มกราคม). สรุปการประชุมเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผ้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ครั้งที่ 39 เครือข่ายสนับสนุนทำงเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม สนับสนุนโดย แผนงานส่งเสริมสุขภาวะทางเพศ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.). https://choicesforum.org/.

จิตรลดา ตรี สาคร. (2555). พฤติกรรมองค์การ. ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.

จิราพร ชมพิกุล และคณะ. (2552). สัมพันธภาพในครอบครัวไทย. นครปฐม: เอ็น แอนด์ เอ็น ก๊อปปี้ แอนด์ พริ้นติ้ง.

ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา และคณะ. (2563). นิเวศสื่อ เพื่อพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. วารสารสหวิทยาการ

สังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 3(2). 147-169.

ณัฎฐพัชร คุ้มบัว, ไพบรูณ์ คะเชนทรพรรค์, สันทัด ทองรินทร์. (2563). การรู้เท่าทันสื่อสังคมเรื่องเพศของนักเรียนนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารนิเทศาสตร์ มสธ, 10(1), 32-44.

ณัฐวุฒิ สง่างาม. (2554). ความหมายว่าการรับรู้. ดวงกมลสมัย.

ทรงยศ พิลาสันต์. (2557, 10 มกราคม). ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไทย. https://www.hitap.net/wpcontent/uploads/2014/10.

ธวัชชัย สหพงษ์ และศิริลักษณ์ จันทพาหะ. (2561). การพัฒนาโมชันกราฟิกเรื่องคอนแทคเลนส์. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 4(1), 9-7.

นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2544). จิตวิทยาสังคมเบื้องต้นการรับรู้ทางสังคม. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นาตยา แก้วพิภพ, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้าน สุขภาพและการรับรู้ ความสามารถตนเองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์. วารสารสุขศึกษา, 42(1), 57.

มนัสพงศ์ พัฒนวิบูลย์. (2553). การรับรู้ข่าวสาร และทัศนคติของประชาชนผู้รับบริการเกี่ยวกับภาพลักษณ์ในการให้บริการ ของธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตกรุงเทพฯ

วิพรรษา คำรินทร์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์. (2560). การบริโภคสื่อกับการรู้เท่าทันสื่อของคนไทย. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 2(3). 170-183.

ศรุตยา และคณะ. (2565). การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น : การสำรวจปัญหาและความต้องการการสนับสนุนในการรักษาพยาบาล . Siriraj Nursing Journal, 5(1).

ศิระศักดิ์ ถิระสินางค์กูล. (2554). กระบวนการผลิตแอนิเมชัน. วิตตี้ กรุ๊ป.

สมบุญ ศิลป์รุ่งธรรม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนิสิตปริญญาตรี สาขาพลศึกษาและสุขศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารศึกษาศาตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(1), 104-119.

แสงศุลี ธรรมไกรสร. (2559, 10 พฤษภาคม). ค่านิยมใหม่แม่วัยใส ทัศนคติผิด ๆ ที่ต้องร่วมกันแก้ไข. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564, 20 เมษายน). ระบบ

สารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. http://www.sesao15.go.th/web15/.

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. 2555. พฤติกรรมและการสื่อสารในองค์การ. วี.พริ้นท์ (1991).

Infographic Thailand. (2559, 10 สิงหาคม). เบื้องหลังการทำโมชันกราฟิก 1 http://infographic.in.th/infographic.

Matt Canham and Mary Hegarty. (2010). Effects of knowledge and display

Design on comprehension of complex graphics. Learning and Instruction, vol. 20 2010, pp. 155-166, Available: ELSEVIER.

Mohammadi, Najwa Al. (2017). Effectiveness of Using Infographics as an Approach for Teaching Programming Fundamentals on Developing Analytical Thinking Skills for High School Students in the City of Makkah in Saudi Arabia. University of Jeddah.