ปัญหากฎหมายในการแสดงเจตนาในสัญญาอิเล็กทรอนิกส์: ศึกษากรณี การซื้อขายสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบของการแสดงเจตนาในสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ และพฤติกรรมการซื้อขายสินค้าทางเครือข่ายออนไลน์ของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงเจตนาในสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ และการซื้อขายสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ และ 3) วิเคราะห์ปัญหากฎหมายและข้อเสนอแนะทางกฎหมายเกี่ยวกับการแสดงเจตนาในสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ กรณี การซื้อขายสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า
1) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านการบริการและการจัดส่ง รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสาร ในด้านรูปแบบของการแสดงเจตนาในสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุแบ่งออกเป็นแบบตอบสนองทันที และแบบที่ไม่สามารถตอบสนองได้ในทันที ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562) และพิจารณาหลักกฎหมายทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบ
3) ปัญหากฎหมายได้แก่ ความไม่ชัดเจนในบทบัญญัติของกฎหมาย ขาดความทันสมัย และขาดความสอดคล้องกันระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การขาดหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบในการทำธุรกรรม หรือสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ กรณีการซื้อขายสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ ปัญหาความไม่เป็นธรรม การถูกเอาเปรียบ การถูกฉ้อโกง และการละเมิดสิทธิในการซื้อขายสินค้าผ่านเครือข่ายออนไลน์ และ ข้อเสนอแนะทางกฎหมาย ได้แก่ การมีบทบัญญัติเฉพาะในด้านการแสดงเจตนาในสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ กรณีการซื้อขายสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ การแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 การเพิ่มบทกำหนดโทษในการกระทำผิด การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ และการวางระบบเพื่อเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ณัฏฐ์รดา แสงจันทร์จิราธร. (2556). การคุ้มครองผู้บริโภคในธุรกรรมซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐพงศ์ ศรีพา. (2561). รายงานการศึกษาทางวิชาการ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาการเกิดสัญญาอิเล็กทรอนิกส์. สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ธัญลักษณ์ สุมนานุสรณ์. (2561). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุกลุ่มเบบี้บูมเมอร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522. (2522). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (ตอนที่ 72 ฉบับพิเศษ), หน้า 20-40.
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (ตอนที่ 69 ก), หน้า 96-114.
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544. (2544). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (ตอนที่ 112 ก), หน้า 26-42.
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ.2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (ตอนที่ 49 ก), หน้า 12-26.
พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมพ.ศ.2540. (2540). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนที่ 72 ก), หน้า 32-36.
พินัย ณ นคร. (2561). กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล. วิญญูชน.
ไพโรจน์ วายุภาพ. (2563). คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.
ภารุจา บุญจารุทัศน์. (2557). การคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ : กรณีศึกษาเฉพาะเฟชบุ๊คและอินสตาแกรม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ,
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. (2564, 14 มีนาคม). ซื้อสินค้าออนไลน์ แล้วพบปัญหาทำอย่างไรดี.
https://www.consumerthai.org/consumers-news/ffc-news/4414-how-to-complain-online-shopping.html.
วราภรณ์ วนาพิทักษ์. (2562). การปรับปรุงกฎหมายเพื่อกำหนดความรับผิดชอบทางแพ่งของผู้ประกอบธุรกิจในทางสัญญาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 17(2), 74-90.
ศลิษา ทองโชติ ประทีป ทับอัตตานนท์ และสอาด หอมมณี. (2558). การคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 12(2),114-124.
ศูนย์กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2559). สัญญาต้องเป็นสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร.
สิทธิชัย จิระสันติมโน. (2557). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์: ศึกษากรณีการซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Barry, Jenkins QC, Lloyd, Douglas-Jones and Sumnall. (2016). Blackstone Guide to the Consumer Rights Act 2015. Oxford University Press.
Federal Trade Commission. (2016, 14 March ). FTC Issues Final Rule Amendments Related tothe E-Warranty Act. https://www.ftc.gov/newsevents/pressreleases/2016/09/ftc-issues-final-ruleamendments-related-e-warranty-act.