ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นจันทบูร : การสร้างสรรค์ภาพถ่าพดิจิทัลจากเรื่องเล่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน

Main Article Content

วิฆเนศวร ทะกอง
สุทธินันท์ โสตวิถี
พิศิษฐ์ ชัยสุวรรณถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นจันทบูร : การสร้างสรรค์ภาพถ่าพดิจิทัลจากเรื่องเล่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน  มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นจากชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อสร้างสรรค์ภาพถ่ายดิจิทัลจากเรื่องเล่าภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นจากชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจผลงานสร้างสรรค์ภาพถ่ายอาหารต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายจากเรื่องเล่าภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัยพบว่า  1) ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี ความโดดเด่นในเรื่องของกลิ่นและรสชาติที่เข้มข้นของพืชสมุนไพรนานาชนิดซึ่งแตกต่างจากอาหารของภาคอื่น และมีมิติที่เกี่ยวข้อง คือ ด้านวัฒนธรรมการกิน ด้านประวัติศาสตร์ และมีมิติที่เกี่ยวข้องกับความหมายของอาหารโดยเฉพาะมิติด้านสังคม คือ มีการแสดงให้เห็นถึงตัวตนและสถานะของผู้บริโภค และสะท้อนภาพวิถีชีวิตของชาวจันทบุรีที่เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ของอาหาร และพบการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมโดยอาหารท้องถิ่นได้ถูกพัฒนาเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว 2) การสร้างสรรค์ถ่ายภาพถ่ายอาหารพื้นถิ่นให้ความน่าสนใจ องค์ประกอบที่สำคัญคือ ส่วนประกอบเสริมภายในภาพ วัตถุดิบประกอบภาพ ภาชนะ การจัดองค์ประกอบภาพควรเลือกใช้พร็อพที่มีความเกี่ยวข้องกับอาหาร จะช่วยให้ภาพมีสีสันและสร้างความสะดุดตาได้  การสร้างสรรค์ภาพถ่ายควรหาข้อแตกต่างจากภาพที่เคยมีอยู่แล้วและหามุมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ 3) ผลประเมินความพึงพอใจผลงานสร้างสรรค์ภาพถ่ายอาหารต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้งในเรื่องของการจัดองค์ประกอบภาพ ความน่าสนใจของภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อความหมายของภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น  

Article Details

How to Cite
ทะกอง . ว., โสตวิถี ส. . ., & ชัยสุวรรณถาวร พ. (2023). ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นจันทบูร : การสร้างสรรค์ภาพถ่าพดิจิทัลจากเรื่องเล่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(2), 92–102. https://doi.org/10.14456/issc.2023.28
บท
บทความวิจัย

References

ณัชชา อาจารยุตต์. (2559). การสื่อสารกับการสร้างความหมายและรสนิยมการบริโภคชาข้ามชาติ ในสังคมไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่7). สุวีริยาสาส์น.

ผู้จัดการออนไลน์. (2561, 25 พฤษภาคม). เปิดวิสัยทัศน์ “รัฐมนตรีเมืองรอง” วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ชู “จันทบุรี” ขึ้นแท่น “ต้นแบบเมืองรอง”. https://mgronline.com/travel/detail/9610000094802

มนตรี พันธ์สวัสดิ์. (2561). การจัดตกแต่งอาหาร. บทเรียนวิชา ศิลปะการแตกต่างอาหาร. วิทยาลัยดอนบอสโก.

รัตติกาล เจนจัด. (2556). สื่อสาร อาหาร สุขภาพ. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

ศรินธร รัตน์เจริญขจร. (2544). ร้านกาแฟ: ความหมายในวัฒนธรรมไทยยุคบริโภคนิยม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนี ศักดาเดช. (2549). อาหารท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เสาวภา ศักยพันธ์. (2548). ตำราอาหารท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อร่าม อรรถเจดีย์. (2550). พืชพื้นบ้าน อาหารจันทบูร. โรงพิมพ์ต้นฉบับ.

Ashley, B. H., J. Jones, S. and Taylor J. (2004). Food and Cultural Studies. Routledge.

Reina Kanamori. (2018, 23 พฤษภาคม). เทคนิคการออกแบบและจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่ายภาพ. https://snapshot.canon-asia.com/thailand/article/th/3- composition-styling-techniques-for-food- photography?gclid=EAIaIQobChMIzMr83N3J6QIV0LWWCh1AZwvrEAMYASAAEgK- pPD_BwE ]

Yocuwa Samarom. (2019, 12 ตุลาคม). 10 เทคนิคถ่ายภาพอาหารสำหรับมือใหม่ให้สวย ดึงดูดสายตา และ น่าสนใจ.https://www.photoschoolthailand.com/10-tips- food-photography/