กลยุทธ์ธุรกิจสีเขียวด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มสู่ความต่อเนื่องทางธุรกิจ : เรื่องเล่าความสำเร็จของผู้ประกอบการร้านอาหารเพื่อสุขภาพยามเย็น กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เรื่องเล่าความสำเร็จกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสีเขียวด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มสู่ความต่อเนื่องทางธุรกิจของผู้ประกอบการร้านอาหารเพื่อสุขภาพยามเย็น กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาการศึกษาประวัติชีวิตและเรื่องเล่า ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ พนักงานให้บริการ และลูกค้าที่มาใช้บริการ ด้วยการสัมภาษณ์แบบอัตชีวประวัติ ร่วมกับแนวคำถามและแบบสังเกต ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เพื่อสร้างเรื่องเล่าผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารเพื่อสุขภาพยามเย็น กรุงเทพมหานคร มีการนำกลยุทธ์ธุรกิจสีเขียวมาใช้ในการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร ประกอบด้วย การผลิตอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การให้บริการและส่วนสนับสนุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงานและการจัดการสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ ประกอบด้วย การสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการบริการ ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการรวมกลุ่มเครือข่าย ด้านการพัฒนาบุคลากร และความต่อเนื่องทางธุรกิจซึ่งการดำเนินธุรกิจร้านอาหารในปัจจุบันมีความจำเป็นผู้ประกอบการ ต้องให้ความสำคัญในการบริหารจัดการเพื่อสามารถดำเนินการอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและความไม่แน่นอนที่ไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้ มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์โดยมุ่งเน้นให้ความรู้ ให้ตระหนักถึงผลเสียกับโลก ลดสิ้นเปลือง สูญเสีย พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดประโยชน์ ให้เป็นระบบตามมาตรฐาน ติดตามผลเชิงปฏิบัติ เชิงประสิทธิภาพ และประเมินผลงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560, 13 มีนาคม). หนังสือคู่มือการพัฒนามูลค่าเพิ่ม.http://econs.co.th/index.php/2018/06/21/dbdvaluecreationhandbook/.
คมศักดิ์ สว่างไสว. (2559, 13 มีนาคม). ธุรกิจสีเขียว (Green Business). https://progreencenter.org/2016/02/09 -green-business/.
จรัญญา วงษ์ดอนขมิ้น. (2557). การให้ความหมายรูปแบบและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจสีเขียวของบริษัทคีนน์ จำกัด. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1), 191-201
ชญานิษฐ์ วิวัฒนวานิช โอยามา และ จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์. (2562). การขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมผ่านเรื่องเล่าของคนต้นแบบวิถีชีวิต
ออร์แกนิก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4582-4596.
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ทศพร กาญจนภมรพัฒน์. (2562). การบริหารจัดการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสยาม.
ฝนทิพย์ ฆารไสว. (2554). การศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
ของไทย. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 39-50.
พิพัฒน์ วีระถาวร. (2555). ธุรกิจสีเขียว (Green Business) โอกาสของประเทศไทย. วารสารแก่นเกษตร. 40,(1), 11-13.
พิทักษ์ ศิริวงศ์ กำพล เชี่ยวชาญศิลป์ และอภิวัฒน์ บางเหลือง. (2561). การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ สู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ
ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ : กรณีศึกษา ร้านสวนผักน้ำ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติสังคมศาสตร์วิชาการครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 361-369.
ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2563). โรงแรมสีเขียว: กลยุทธ์การบริหารจัดการและการปฏิบัติบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรมกรุงศรีริ
เวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12 (2), 117-134.
วราธัช ตันติวรวงศ์. (2558). SINGAPOREกับธุรกิจสีเขียว. วารสาร SME Thailand.
สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร. (2555). การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ..ทางรอดของธุรกิจในภาวะวิกฤต. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4(1), 68-77.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557). คู่มือการจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง. สำนักงาน
ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
อกณิษฐ์ ชัยเฉลิมศักดิ์ ปาลิตา พรรณรัตน์ ประทุม สุดใจ ณัฐจิรา อิ่มวิเศษ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). การให้ความหมาย รูปแบบและ
กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจสีเขียวของร้านออเรนจ์เจอร์รี่ คาเฟ่. Veridian E-Journal, 9(1), 223-236.
อธิป จันทร์สุริย์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2561). เรื่องเล่าความสำเร็จการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วยกระบวนทัศน์การใช้แนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียง สวนลุงนิล อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8 (1), 222-237.
อุรพี สุวรรณเดชา. (2559). การรับรู้เกี่ยวกับร้านอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อของนักท่องเที่ยวอาเซียนในเมือง
พัทยา จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไอเดียธุรกิจ. (2558, 13 มีนาคม). 4 โอกาสเพื่อพัฒนาธุรกิจสีเขียว.http://incquity.com/articles/go-green-business-trend.
Chan, R. Y., He, H., Chan, H. K., and Wang, W. Y. (2012). Environmental orientation and corporate performance: The
mediation mechanism of green supply chain management and moderating effect of competitive intensity. Industrial Marketing Management, 41(4), 621-630.
Chen, Y. S., Lai, S. B., and Wen, C. T. (2006). The influence of green innovation performance on corporate advantage
in Taiwan. Journal of business ethics, 67 (4), 331-339.
Gavronski, I., Klassen, R. D., Vachon, S., and Nascimento, L. (2011). A resource-based view of green supply
management. Transportation Research Elsevier Journal, E (47), 872-885.
Hatten. (2006). Small Business Management: Entrepreneurship and Beyond (6th Ed). Timothy S. Hatten.
Kotler, P. and Keller, K.L. (2012). Marketing Management (14th ed). Pearson Prentice Hall.
Levitt, T. (1980). Marketing Success throught Differentiation of anything. Harvard Business Review, 1(2), 83-91.
Nilson, H. T. (1992). Value-Added Marketing. Marketing Management for Superior Results. McGraw-Hill
Naumann, E. (1995). Creating Customer Value. The Part to Sustainable Competitive Advantage, Thompson Executive Press, OH.