พัฒนาการศิลปะภาพยนตร์แอนิเมชันไทย

Main Article Content

ปิยนนท์ สมบูรณ์
บรรจง โกศัลวัฒน์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการศิลปะของภาพยนตร์แอนิเมชันไทยและศึกษาแนวคิดการสร้างสรรค์ของผู้สร้างผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชันไทย มุ่งที่จะทำการศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์แอนิเมชันไทยในด้านการพัฒนาการศิลปะ โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นวิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และการสัมภาษณ์ผู้สร้างผู้กำกับ นักวิชาการ เพื่อทำการศึกษาพัฒนาการศิลปะภาพยนตร์แอนิเมชันไทยตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบันโดยแบ่งเป็น 3 ยุคได้แก่ 1. ยุคเริ่มต้น 2. ยุคเปลี่ยนผ่าน 3. ยุคปัจจุบัน โดยกำหนดเกณฑ์การเลือกตัวอย่างจากผลงานภาพยนตร์แอนิเมชันไทยที่ได้นำเข้าฉายในโรงภาพยนตร์และมีชื่อเสียงตั้งแต่ปี 2522-2561 ผลการศึกษาพบว่าภาพยนตร์แอนิเมชันไทยได้มีการพัฒนาทางด้านศิลปะในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบตัวละคร การออกแบบฉาก การทำการเคลื่อนไหวให้กับตัวละคร แต่โครงเรื่องส่วนใหญ่มักเป็นการอ้างอิงจากวรรณคดีหรือประวัติศาสตร์ การคิดเนื้อเรื่องจึงถูกตีกรอบให้ใช้ความเป็นไทยมากจนเกินไป บางส่วนที่เป็นเอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมไทยได้นำมาเป็นเนื้อเรื่องหลักซึ่งจะส่งผลให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือการนำเสนอที่เป็นสากลที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ยาก ทั้งยังพบว่าบุคลากรของไทยมีคุณภาพและมีผลงานเป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศแต่ยังขาดทุนในการดำเนินการ รัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาสนับสนุนอย่างจริงจัง และควรเปิดกว้างทางด้านการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ การนำเสนอเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยต้องมีการประยุกต์ให้มีความทันสมัย เป็นสากล ไม่ควรใช้ความเป็นไทยมาตีกรอบหรือยึดเป็นเนื้อเรื่องหลักมากจนเกินไป นอกจากนี้ภาคการศึกษา ควรร่วมมือกับภาคผู้ประกอบการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อผลิตบุคลากรให้ตรงตามความต้องการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชันไทย

Article Details

How to Cite
สมบูรณ์ ป., & โกศัลวัฒน์ บ. (2023). พัฒนาการศิลปะภาพยนตร์แอนิเมชันไทย. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 44–54. https://doi.org/10.14456/issc.2023.5
บท
บทความวิจัย

References

กรภัทร์ จิตต์จำนง. (2552). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกชมภาพยนตร์แอนิเมชันไทย เรื่อง "ก้านกล้วย 2". [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรรยา เหลียวตระกูล. (2540). พัฒนาการของภาพยนตร์การ์ตูนนำเข้าจากต่างประเทศ ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2552). เทคโนโลยีมัลติมีเดีย. เคทีพี คอมพ์แอนด์ คอนซัลท์.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. นาคร.

ธรรมปพน ลีอำนวยโชค. (2550). Intro to animation: แอนิเมชันเบื้องต้น. ฐานบุ๊คส์.

เมทินี สิงห์เวชกุล. (2548). การพัฒนากระบวนการการผลิตการ์ตูนแอนิเมชันไทยสู่ตลาดโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาภรณ์ อรุณปลอด, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, นพดล อินทร์จันทร์ และ จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า. (2561). ภาพยนตร์แอนิเมชั่น กรณีศึกษาภาพยนตร์การ์ตูน 3 มิติของไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 180-187.

วิสิฐ จันมา, จิรวัฒน์ พิระสันต์, รัฐพล ไชยรัตน์ และ ศุภรัก สุวรรณวัจน์. (2561). การพัฒนากระบวนการออกแบบภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นที่มีอัตลักษณ์ศิลปกรรมไทยร่วมสมัย. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(1), 140-151.

อนุชา เสรีสุชาติ. (2548). การบริหารการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 6(1), 180-187.

Hurtik, E. & Yarber, R. (1971). An introduction to drama and criticism. Xerox College Publishing.

Lea Milic, Yasmin McConville. (2006). The Animation Producer's Handbook

Lee Amnuaychok, T. (2007). Intro to animation. Bangkok: Than Books. Crows Nest, N.S.W. : Allen & Unwin.

Legend of Animation. "การ์ตูนไทยสายพันธุ์ใหม่" นิตยสาร @nime. (ฉบับที่1) ผู้จัดการออนไลน์. วันที่ 11/5/47

MGR Online. (2019, August 18). ขาลงแอนิเมชันไทย อยากรอด อย่าควักทุนทำหนัง. MGR Online. https://mgronline.com/live/detail/9560000102016

Muller Gilbert h. Williams John a. (1985). introduction to Literature. McGraw-Hill Co.

Silpa-mag.com. (2020, December 16). ผ่าโลกอนิเมะญี่ปุ่น จากเครื่องมือรัฐยุคสงคราม ถึงยุคทอง และการต่อสู้เพื่อพื้นที่ยืน.Silpa-mag.com. https://www.silpa-mag.com/culture/article_35981

Swain, D. V. (1982). Film scripting: A practical manual. Jodan Hill, Focal Press.