บทความที่ 4 : การศึกษาความเข้าใจในการแปลคำบอกทิศทาง “上” (Shàng) จากภาษาจีนเป็นภาษาไทยของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

จิราพร ปาสาจะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจความหมายของคำบอกทิศทาง


“上” (Shàng) ที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3


มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หลังจากที่ได้ใช้แบบทดสอบความเข้าใจความหมายของ


คำบอกทิศทาง “上” (Shàng) กับตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 55 คน


ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความเข้าใจความหมายของคำบอกทิศทาง “上” (Shàng) ใน


แต่ละด้าน คือ ตอนที่ 1 ความเข้าใจการใช้ “上” (Shàng) ในการบอกตำแหน่งแต่ละ


รูปแบบ มีจำนวนผู้ตอบถูกคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 23.77 ตอนที่ 2 ความเข้าใจหน้าที่ทาง


ไวยากรณ์ของ “上” (Shàng) ในประโยคมีจำนวนผู้ตอบถูกคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 61.3


ตอนที่ 3 ความเข้าใจการใช้ “上” (Shàng) ในบริบทต่าง ๆ มีจำนวนผู้ตอบถูกคิดเป็น


ค่าเฉลี่ยร้อยละ 31.66 และตอนที่ 4 ความเข้าใจการแปล “上” (Shàng) จากภาษาจีนเป็น


ภาษาไทย มีจำนวนผู้ตอบถูกคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 59.74 จึงสรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างมีความ


เข้าใจหน้าที่ทางไวยากรณ์มากที่สุดและเข้าใจความหมายของ “上” (Shàng) ที่มี


หลากหลายรูปแบบน้อยที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2548). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ:
รวมสาส์น (1977).
วิภาภรณ์ ภัทรกุลพงษ์. (2548). หลักไวยากรณ์จีนฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศศรักษ์ เพชรเชิดชู. (2552). การแปลจีน-ไทยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงาน
วิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสี่ยว อานต้า. (2547). ไวยากรณ์จีน. กรุงเทพฯ: ทฤษฎี.
เหยิน จิ่งเหวิน. (2552). ไวยากรณ์ภาษาจีน ฉบับเปรียบเทียบ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
อรณิศา วิริยธนานนท์. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบ เรื่องมโนทัศน์พื้นที่ “บน”: กรณีศึกษา
คำว่า Shàng ในภาษาจีนแมนดาริน และ “บน” “เหนือ” “ขึ้น” ในภาษาไทย.
วารสารจีนศึกษา, 8(1), 38-73.
Nida, E. (1982). The theory and practice of translation. Leiden: E.J. Brill.
Lado, R. (1957). Linguistics across cultures applied linguistics for language
teachers. Ann Arbor: University of Michigan.
Krashen, S. (1982). Principle and practice in second language acquisition.
California: Pergamon Press.
黄南宋, & 孙德金. (2006). HSK词语用法详解. 北京: 北京语言大学出版社.
刘川平. (2008). 学汉语用例词典. 北京: 北京语言大学出版社.
卢福波. (2008). 对外汉语常用词语对比例释. 北京: 北京语言大学出版社.
吕必松. (2007). 汉语和汉语作为第二语言教学. 北京: 北京语言大学出版社.
吕叔湘. (1999). 现代汉语八百词. 北京: 北京商务印书馆.
罗琳. (2013). 留学生习得方位词 “上” 与 “里” 的偏误研究. (硕士学位论文),
吉林大学.
苗东霞. (2007). HSK考前强化-----语法. 北京: 北京语言大学出版.
涂烨. (2016). 方位词 “上” 与 “上面、上边 (头)” 的对比研究.. (硕士学位论文),
南昌大学.
王文霞. (2016). 方位词 “上” 的偏误分析与对外汉语教学策略研究.
(硕士学位论文), 山西大.
杨寄洲, & 贾永芬. (2007). 1700对近义词语用法对比. 北京: 北京语言大学出
版.
张幼东. (2010). 实用汉语语法讲练. 北京: 北京大学出版社.
朱德熙. (1989). 语法讲义. 北京: 商务印书馆.
中国社会科学院语言研究所词典编辑室. (2016). 现代汉语词典 (第七版).
北京: 商务印书馆.
缑瑞隆. (2004). 方位词“上、下”的语义认知基础与对外汉语教学. 语言文字
应用, 4, 69-75.