บทความที่ 2 : การตัดสินใจจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาพื้นที่ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด การตัดสินใจจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาพื้นที่ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาพื้นที่ของนายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบริบทที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการ
จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาพื้นที่และผลประโยชน์ของประชาชนของนายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด ก่อนปี พ.ศ. 2550 2. ศึกษาการตัดสินใจของนายกองค์การบริหารส่วน
จังหวัด ช่วงปี พ.ศ. 2550-2560 3. ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการ
ตัดสินใจ ช่วงปี พ.ศ. 2550-2560 4. ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการตัดสินใจของ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาพื้นที่และ
เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ช่วงปี พ.ศ. 2550-2560
ผลการวิจัยพบว่า มีปัจจัยจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ
เพื่อการพัฒนาพื้นที่ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด แม้ว่าจะกำหนดเป้าหมาย
เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ แต่มีองค์ประกอบอื่นที่เป็นปัจจัยแทรกซ้อน
ประกอบด้วยมิติด้านการบริหาร การปกครอง ได้แก่ การปกครองและการกระจายอำนาจของ
ไทยในอดีต พื้นที่ทับซ้อน อำนาจ หน้าที่ รายได้ กฎหมายและปัญหาในการตีความ
ความไม่ต่อเนื่องในพัฒนาการของการกระจายอำนาจ และนโยบายของรัฐบาล และมิติด้าน
การเมือง ได้แก่ การต่อรองผลประโยชน์ของการจัดสรรงบประมาณ ความสัมพันธ์ส่วนตัว
ระหว่างนักการเมืองท้องถิ่นกับนักการเมืองหรือกลุ่มการเมืองระดับชาติ และประชาชนใน
พื้นที่ที่มีส่วนได้เสีย ถือเป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญกับการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณของนายก
องค์การบริหารส่วนจังหวัด จากผลวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้นำไปสู่ข้อเสนอแนะ ดังนี้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ การผนึกกำลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด
การปรับเปลี่ยนภารกิจขององค์การบริหารส่วนจังหวัด การพัฒนาบุคลากรและประชาชนใน
ท้องถิ่น การกำหนดยุทธศาสตร์ การสนับสนุนการศึกษาวิจัย การออกกฎหมายต่าง ๆ
ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ ได้แก่ การออกระเบียบเป็นแนวปฏิบัติงาน การยึดหลักพื้นฐานของ
ความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ ได้แก่ การปรับโครงสร้างของการ
บริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัด
Article Details
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กิรพัฒน์ เขียนทองกุล. (2559). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นไทยช่วงหลัง
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 - 2559: การเมืองไทยที่ไร้เสถียรภาพกับความไม่เชื่อใจใน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(2), น. 53 - 73.
คณิน พีระวัฒนชาติ. (2561). บทบาทของรัฐบาลท้องถิ่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบมีส่วน
ร่วม. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ทรงชัย ทองปาน. (2553). ความสามารถของท้องถิ่นในการบริหารจัดการถนนเพื่อรองรับการ
ถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิทยาการจัดการ,
27(1-2), 47-64.
นันท์นภัส วงษ์พาณิทอักษร. (2558). การเมืองในกระบวนการกำหนดนโยบายขององค์การ
บริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(2),
96-103.
ภาณุ ธรรมสุวรรณ. (2547). การติดตามผลการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. วารสารสถาบัน
พระปกเกล้า, 2(1), 1-16.
วิรัตน์ วิริยากุล และพีรพล ไตรทศาวิทย์. (2554). กระบวนการจัดสรรงบประมาณของ
เทศบาลตำบลสันป่าตอง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการบริหาร
ท้องถิ่น, 4(4), 115-129.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2556). การเมืองของพลเมืองสู่สหัสวรรษใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 6).
กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2557). เหตุอยู่ที่ท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มาตาการพิมพ์.
Denhardt, J. & Denhardt, R. (2007). The new public service: Serving, not steering
(Expanded Edition Armonk). New York: M.E. Sharpe.
Simon, H. A. (1950). Administrative behavior. New York: McMillan.
Belasco, J. A. & Stayer, R. C. (1994). Flight of the buffalo. New York: Warner
Books.
Manor, J. (1999). The political economy of democratic decentralization.
Washington D.C.: The World Bank.
Ostrom, V., Tiebout, C. M. & Warren, R. (1961). The organization of government
in metropolitan areas: A theoretical inquiry. American political and
social science review, 55(4), 831-842.