บทความที่ 1 : การสื่อสารอุดมการณ์ของ เกย์ ผ่านท่าเต้น โว้กสไตล์ ของศิลปินหญิงระดับโลก “มาดอนน่า”

Main Article Content

สหพร ยี่ตันสี

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการต่อสู้เพื่อสร้างจุดยืนของกลุ่มเกย์ โดยการ


แฝงอุดมการณ์ของกลุ่มเกย์ที่ถูกกดดันให้กลายเป็นกลุ่มคนส่วนน้อย (คนชายขอบ) ว่ามีวิธีการ


ต่อสู้เพื่อเรียกร้องจุดยืนจากสังคมผ่านการฝากอุดมการณ์ในท่าเต้นของศิลปินหญิง ภายใต้


ขอบเขตของการศึกษาศิลปินหญิงระดับโลก ซึ่งผู้ศึกษาขอเลือกศิลปินหญิงผู้ได้รับความนิยม


ทั่วโลกที่มากับเพลง Pop dance ซึ่งถือเป็น Popular culture ที่คนให้การยอมรับอย่าง “มา


ดอนน่า” ศิลปินที่มีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก และโด่งดังเป็นอย่างมากในช่วงยุค 80s


โดยใช้แนวคิดทฤษฎีอุดมการณ์ (Ideology) และแนวคิดเรื่องเกย์ เพื่อเป็นกรอบในการศึกษา


รวมไปถึงใช้การวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) ผ่านท่าเต้นของในมิวสิกวิดีโอเพลง


Vouge และการแสดงสดเพลง Vouge 3 Version จากในยูทูบ และภาพถ่ายในการโปรโมต


อัลบั้มเพลงดังกล่าว เพื่อวิพากษ์อุดมการณ์ความเป็นเกย์ที่เกิดขึ้นในท่าเต้น


จากการศึกษาพบว่า กลุ่มเกย์สามารถสร้างกระแสความนิยมในท่าเต้นของศิลปิน


หญิงระดับโลกอย่างมาดนอนน่าได้ทั่วโลก แม้จะเป็นการแฝงอุดมการณ์ผ่านความต้องการของ


คนชายขอบอย่างกลุ่มเกย์ ที่พยายามจะนำสไตล์การเต้น Vouge ที่เกิดขึ้นจากพวกเขาผ่าน


เพศปกติอย่างเพศหญิงเพื่อให้เกิดความสนใจในกลุ่มเพศของตนว่ามีความสามารถ และการ


เปลี่ยนวิธีการสื่อสารมาสื่อสารผ่านเพศหญิงที่เป็นศิลปินระดับโลก กลับกลายเป็นว่าแม้จะ


เป็นอุดการณ์ของกลุ่มเกย์ เพียงเปลี่ยนการต่อสู้ผ่านการหยิบยืมเรือนร่างของเพศหญิงในการ


สื่อสารแต่กลับทำให้อุดการณ์เกย์ชุดดังกล่าวกลายเป็นที่นิยม ได้รับการยอมรับซึ่งถือว่าเรื่อง


ดังกล่าวเป็นการต่อสู้ที่สำเร็จของกลุ่มเกย์ และถือว่าเป็นความสำเร็จที่ก่อให้เกิดการทำซ้ำ


(Reproduce) ผ่านสื่อกระแสหลัก (Mass Media) อย่างล้นหลามจนกลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญใจ เอมใจ. (2541). ความเข้าใจผิดบางประการ เรื่องรักร่วมเพศ. สืบค้นจาก
www.xq28.net.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2542). พลังของแนวคิดชาติ-ชาตินิยมกับการเมืองไทยในสมัยแรกเริ่ม
ของรัฐประชาชาติ. รัฐศาสตร์สาร, 21(3), 1-104.
ขวัญใจ เอมใจ. (2541). ความเข้าใจผิดบางประการ เรื่องรักร่วมเพศ. สืบค้นจาก
www.xq28.net.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2542). พลังของแนวคิดชาติ-ชาตินิยมกับการเมืองไทยในสมัยแรกเริ่ม
ของรัฐประชาชาติ. รัฐศาสตร์สาร, 21(3), 1-104.
สุกมล วิภาวีพลกุล.(2560). กระเทยคืออะไร. สืบค้นจาก www.clinicrak.com
สุธรรม ธำรงวิทย์. (2548). อำนาจและการขัดขืน : ชายรักชายในสังคมที่ความสัมพันธ์
ต่างเพศเป็นใหญ่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
คณะรัฐศาสตร์, สาขาการปกครอง.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2559). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรงุเทพฯ: ระเบียงทอง.
เอกศาสตร์ สรรพช่าง. (2546). คาราโอเกะคลับ พื้นที่และตัวตนของเกย์อ้วน. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะโบราณคดี, สาขาวิชา
มานุษยวิทยา.
โอ๊ต มณเฑียร. (2561). ในวันที่ฉันลอง ‘โว้ก’ การเต้นสุดเผ็ชที่ฉีกกฎเพศสภาพ. สืบค้นจาก
https://themomentum.co/voguing-lgbt/
D’Emilio, J. (2002). The World Turned: Essays on Gay History, Politics, and
Culture. Durham: Duke University Press.
Foucault, M. ( 1972) . The Archaeology of Knowledge and the Discourse on
Language (Translated by Sheridan, A.) New York: Pantheon Books.
Foucault, M. (1988). Politic philosophy culture: interview and other writing 1977
– 1984. New York: Routledge.
Guzman, S. (2017). File photo of Madonna and José Gutierrez, one of iconic
"Vogue" dancers on her Blonde Ambition tour. Retrieved from
www.nbcnews.com/news/latino/strike-pose-documentary-spotlightsdancers-
who-taught-madonna-vogue-n743461
Madonna. (2009). Madonna - Everybody (Official Music Video). Retrieved from
www.youtube.com/watch?v=NQHCVcbnJjg
Madonna. (2009). Madonna - Vogue (Official Music Video). Retrieved from
www.youtube.com/watch?v=GuJQSAiODqI
Rolling Stone. (2012). Madonna's Iconic Career in Photos. Retrieved from
www.pinterest.co.uk/pin/366128644679050076/?lp=true
Wallenstein, I. (1990). Culture as the ideological battle ground of the modern
world-system. Retrieved from https://journals.sagepub.com/doi/10.117
7/026327690007002003