การสร้างแบรนด์บุคคลของศิลปินลูกทุ่ง ป๊อปปี้ ปรัชญาลักษณ์

Main Article Content

พันธกานต์ ทานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการสร้างแบรนด์บุคคลของศิลปินลูกทุ่ง ป๊อปปี้ ปรัชญาลักษณ์ เป็นงาน
วิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะหาคำตอบในเรื่องการสร้างแบรนด์บุคคลของศิลปิน
ลูกทุ่ง โดยเลือกกรณีศึกษาศิลปินลูกทุ่ง ป๊อปปี้ ปรัชญาลักษณ์ จากค่ายเพลงยุ้งข้าวเรคคอร์ด
ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ซึ่งแนวคำถามสร้างขึ้นจากการวิเคราะห์ตาม
องค์ประกอบทั้ง 10 ด้าน ตามแนวคิดเรื่ององค์ประกอบสำคัญในการสร้างชื่อเสียงให้กับแบรนด์
บุคคลของ Roberto Alvarez del Blanco โดยสัมภาษณ์จากผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการสร้างแบรนด์
บุคคลของป๊อปปี้ ปรัชญาลักษณ์ใน 3 มิติ คือ 1. ผู้จัดการค่ายเพลง 2. ฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปิน
3. ศิลปิน รวมทั้งการวิจัยเอกสารเพิ่มเติม ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้แนวคิดการสร้างแบรนด์ แนวคิดการสร้าง
แบรนด์บุคคล (Personal Branding) ซึ่งจะนำแนวคิดองค์ประกอบสำคัญในการสร้างชื่อเสียง
ให้กับแบรนด์บุคคล (Key Elements in Personal Branding Reputation) มาเป็นกรอบเพื่อ
ศึกษาถึงการสร้างความมีชื่อเสียงของศิลปิน รวมทั้งแนวคิดเรื่องการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
(Integrated Marketing Communication) มาเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในการสร้าง
แบรนด์บุคคลของป๊อปปี้ ปรัชญาลักษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การมีชื่อเสียงของแบรนด์บุคคลของ
ศิลปินลูกทุ่ง ป๊อปปี้ ปรัชญาลักษณ์ มาจากองค์ประกอบที่ผสมผสานกันทั้ง 10 องค์ประกอบ
โดยองค์ประกอบส่วนตัวของบุคคล ทั้งเอกลักษณ์ด้านนำเสียงที่โดดเด่น ประสบการณ์ และ
พัฒนาการทางดนตรี รวมทั้งตำแหน่งรางวัลชนะเลิศในรายการไมค์ทองคำของเธอ ยิ่งเป็นส่วน
สนับสนุนให้คนฟังเชื่อมั่นในความสามารถด้านการร้องเพลง อีกทั้งจุดเด่นของเรื่องราวส่วนตัว


ที่มีความอดทน บากบั่น ความเรียบง่าย เป็นจุดเด่นที่ค่ายเพลงนำไปพัฒนาในการสร้างภาพลักษณ์


ผ่านแนวเพลง ดนตรี การแต่งกาย รวมถึงการใช้สื่อในทุกช่องทางเพื่อเผยแพร่และการสนับสนุน
ให้คนฟังได้เห็นความสามารถ และองค์ประกอบภายนอกทั้งเรื่องของค่านิยมทางสังคม บริบทของ
สังคมที่กระแสเพลงลูกทุ่งอีสานกำลังได้รับความนิยมในสังคม รวมทั้งมีฐานแฟนคลับตั้งแต่เข้า
ประกวด ในรายการไมค์ทองคำเป็นการสื่อสารแบรนด์บุคคลไปยังกลุ่มคนฟังที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
ของป๊อปปี้ในวงการเพลงลูกทุ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐภรณ์ สถิรกุล. (2537). กระบวนการสร้างนักร้องยอดนิยมของบริษัทแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนท์
จ?ำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภาควิชาการสื่อสาร
มวลชน.
ดารา ทีปะปาล, และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2557). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ไนน์เอ็นเตอร์. (2560). โพลมหาชน : ส?ำรวจพฤติกรรมคนฟังเพลง. สืบค้นจาก https://
nineentertain.mcot.net/view/58d626eae3f8e480f98c8d5c
ประกายกาวิล ศรีจินดา. (2555). การสื่อสารภาพลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นนักร้องของมาช่า
วัฒนพานิช. วารสารนิเทศศาสตร์, 30(3). 79-101.
ปราณี เอี่ยมละออภักดี. (2553). การสร้างบุคลิกส่วนบุคคลให้ตราสินค้าในภาคธุรกิจ. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 30(2), 116-123.
ภคมน ภาสวัสดิ์. (2550). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน.
วิทวัส ชัยปาณี. (2548). สร้างแบรนด์อย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: มติชน.
วิลินดา นนทมาตร์. (2557). การสร้างแบรนด์บุคคลในธุรกิจเพลงลูกทุ่ง กรณีศึกษา หญิงลี ศรีจุมพล.
(การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์.
ศิริกุล เลากัยกุล. (2546). สร้างแบรนด์. กรุงเทพฯ: อัมรินทรพริ้นติ้งแอนด์พับลัชชิ่ง.
เสริมยศ ธรรมรักษ์. (2551). การสื่อสารแบรนด์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เสริมยศ ธรรมรักษ์. (2554). การสร้างแบรนด์บุคคล: ปั้นคนให้เป็นแบรนด์. วารสารนักบริหาร, 31(1),
106-116.
เสรี วงษ์มณฑา. (2540). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา.
Aaker, D. (1996). Building strong brand. New York: The Free Press.
Del Blanco, R. A. (2010). Personal Brand manage your life with talent and turn into
a unique experience. Great Britain: Palgrave Macmillan.
Kotler, P. (1997). Marketing management (9th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Montoya, P., & Vandehey, T. (2009). The brand called you. New York: McGrawHill.