ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ครรชิต พิมใจ -
  • ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ความต้องการจำเป็น, ยุคดิจิทัล, การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงในยุคดิจิทัล และ
2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงในยุคดิจิทัล โดยใช้การวิจัยผสมวิธี
แบบขั้นตอนเชิงสำรวจ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการจัด
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงในยุคดิจิทัล ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดกลุ่มและสร้างบทสรุปของข้อมูล ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงในยุคดิจิทัล
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 112 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การจัดการเรียนรู้ สื่อและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ 2) ความต้องการจำเป็นของ
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงในยุคดิจิทัล คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ตอบสนองต่อ
การเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล

References

ภาษาไทย

ปุณณิฐฐา มาเชค. (2565). การบริหารองค์กรทางการศึกษาในยุคดิจิทัล. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ. (2564). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 1(2), 1-11.

เพ็ญจันทร์ สินธุเขต. (2560). การศึกษายุคนี้ (ยุคดิจิทัล): Thailand 4.0. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

วิลาวัลย์ กองสะดี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารหัส 52 คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัย

ราชพฤกษ์ ปีการศึกษา 2552. วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ศุภชัย เจียรวนนท์. (2567). Learning center หัวใจสำคัญของการศึกษาในยุคดิจิทัล. https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2820311

สาวิตรี ผิวงาม. (2564). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลที่ส่งเสริมความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนสุนันทา, 13(2), 284–300.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2564). พลังครูไทยวิถีใหม่ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล : หนังสือวันครู. 16 มกราคม 2564. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2566). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อติพร เกิดเรือง. (2560). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัย

ราชภัฏลำปาง, 6(1), 173-184.

อานนท์ วิชานนท์. (2567). สมัยที่ 2 “เพิ่มพูน” พร้อมขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล สานงานต่อ ก่องานใหม่ “เรียนดี มีความสุข” ทุกมิติ เดินหน้า “ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ”. https://moe360.blog/2024/09/16/minister-education-policy/

Starfish Labz. (2567). เรียนดี มีความสุข สร้างผู้เรียนในยุคดิจิทัล. https://www.starfishlabz.com/blog/1589-เรียนดี-มีความสุขสร้างผู้เรียนใน-ยุคดิจิทัล

The reporter Asia. (2564). คิดว่า ลูกคุณเป็น Digital native หรือ Digital naïve. https://www.fmworld.net/overseas/th/th/uh-x/2012/?from=overseas.

ภาษาอังกฤษ

Creswell, J. W., & Creswell, J. D. (2018). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed-methods approaches (5th edition). Sage Publications.

Kukulska-Hulme, A., & Traxle, J. (2013). “Design principles for mobile learning In H. Beetham, & R. Sharpe (Eds.), Rethinking pedagogy for a digital age: Designing for 21st, Century Learning (2nd). (pp. 244–257) Routledge.

Zaker, A., Dadsetan, A., Nasiri, Z., Azimi, S., & Rahnama, F. (2016). Effectiveness of happiness on self-efficacy of students. Electronic Journal of Biology, 12(4), 333-336.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

พิมใจ ค., & ไตรวิจิตรคุณ ด. (2024). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงในยุคดิจิทัล. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(4), EDUCU5204007 (15 pages). สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/271075