ผลการใช้ชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุน เพื่อส่งเสริมทักษะภาษาไทยของเด็กปฐมวัยข้ามชาติ

ผู้แต่ง

  • ศศิวิมล พุฒจันทร์ สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชลาธิป สมาหิโต สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรพรรณ บุตรกตัญญู สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, เทคโนโลยี, ภาษาที่สอง, ทักษะการฟัง, ทักษะการพูด, ปฐมวัย, เด็กปฐมวัยข้ามชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุนที่มีต่อทักษะภาษาไทยด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยข้ามชาติ กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยข้ามชาติชายและหญิง อายุ 5–6 ปี จำนวน 5 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดสามัคคีศรัทธาราม และผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยข้ามชาติโดยเลือก 1 คนจาก 1 ครอบครัว รวมผู้ปกครองทั้งหมด 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุนเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาไทยของเด็กปฐมวัยข้ามชาติ จำนวน 8 ชุด ประกอบไปด้วย นิทาน เกมทักษะการฟังและการพูดจาก YouTube เกมทักษะการฟังผ่านแอปพลิเคชันหรือโปรแกรม Quizizz และบัตรคำศัพท์ 2) แบบประเมินทักษะการฟังและการพูดภาษาไทย และ 3) แบบการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวัดคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัย พบว่า
เด็กปฐมวัยข้ามชาติที่ใช้ชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุน มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการฟังและการพูด หลังการทดลอง (M = 31.40, SD = 3.51) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M = 18.20, SD = 3.27) ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยข้ามชาติส่วนใหญ่ ระบุว่า เด็กฟังและพูดคำศัพท์ในนิทาน และนำคำศัพท์ภาษาไทยไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้

References

ภาษาไทย

ขนิษฐา บุนนาค. (2561, 24 ตุลาคม). แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language) สำหรับเด็กปฐมวัย. Youngciety. https://www.youngciety.com/article/journal/whole-language.html#google_vignette

จิตรลัดดา หลักแหลม. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเล่นจากวัสดุที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่มีต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยโรงเรียนชุมชนวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]. STOUIR at Sukhothai Thammathirat Open University. https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2904

เจนภพ ปัญญาสงค์, ชัชภูมิ สีชมภู และ พิมผกา ธรรมสิทธิ์. (2565). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกลุ่มโรงเรียนฝั่งนที สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(6), 97–110.

ธันย์ สุภาแสน. (2563). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธิดารัตน์ ผอบงา และ สรวงพร กุศลส่ง. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(3), 37–53.

นิภา ดิษฐสุวรรณ (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานสองภาษาร่วมกับสื่อประสมที่มีต่อความสามารถในการฟังและพูดภาษาไทยของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ]. DSpace Repository. http://ir.tsu.ac.th/xmlui/123456789/121

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก, หน้า 5–16.

พิกุล พูลสวัสดิ์. (2562). การพัฒนาความสามารถทางด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเล่านิทานอีสปร่วมกับกิจกรรมเกมการศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ]. DSpace Repository. http://ir.tsu.ac.th/jspui/handle/123456789/141

วนิดา ภูวันนา. (2563). ผลการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาพยนตร์เป็นฐานผสมผสานการพูดสลับภาษาของครูที่มีต่อทักษะการฟังและการพูดเป็นภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย [ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วราภรณ์ สุทธิวงศ์, นนทชนนปภพ ปาลินทร และ เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2565). ผลการใช้แนวการสอนภาษาธรรมชาติเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทางด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 69–78.

วิทวัส แทนศิริ. (2559). ความสามารถการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมภาพเคลื่อนไหว [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กลุ่มงานพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว ฝ่ายทะเบียนและสารสนเทศ. (2565). สถิติจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร. ม.ป.ท

อรุณี หรดาล. (2559). เด็กสองภาษา : สร้างได้ในวัยอนุบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(1), 230–240.

ภาษาอังกฤษ

Chen, H. (2016). The Impact of Family Involvement on Improving EFL Children’s Listening Proficiency [Master of Science Thesis, University of Wisconsin at Platteville]. MINDS@UW. https://minds.wisconsin.edu/handle/1793/75095

Clark, J., and Paivio A. (1991). Dual Coding Theory and Education. Educational Psychology Review, 3(3), 149 – 210.

Epstein. (1995). School/Family/Community Partnerships: Caring for the Children We Share, Phi Delta Kappan, 56(3), 701 – 712.

Epstein, J.L. and Others. (1997). School, Family, Community Partnership: Your Handbook for Action, Phi Delta Kappa, 76(9), 701-712.

Lue, E. Y. H., and Li, J. B. (2021). Hong Kong Children’s School Readiness in Times of COVID – 19: The Contribution of Parent Perceived Social Support, Parent Competency, and Time Spent With Children. Educational Psychology, 12. http://doi.org/10.3389/fpsyg.2021.779449

Mcleod, S. (2024, January 24). Vygotsky’s Theory Of Cognitive Development. SimplyPsychology. https://www.simplypsychology.org/vygotsky.html

Mcllroy, T. (2024, May 22). Why Listening Skill in Early Childhood are Vital + How to Teach Them. Empowered Parent Teaching kids through play. https://empoweredparents.co/listening-skills-in-early-childhood/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30

How to Cite

พุฒจันทร์ ศ., สมาหิโต ช., & บุตรกตัญญู อ. . (2024). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุน เพื่อส่งเสริมทักษะภาษาไทยของเด็กปฐมวัยข้ามชาติ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(3), EDUCU5203008. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/269519