การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีน โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จิดาภา ฉันทฤกษ์ผดุง สาขาวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ขวัญใจ กิจชาลารัตน์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สุขหรรษา เฟื่องวงศ์สกุล สาขาวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, คำศัพท์ภาษาจีน, แนวคิดวิธีธรรมชาติ, ความสามารถในการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนในระดับชั้นอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมในการส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 55 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาสภาพของการจัดการเรียนการสอน ชุดกิจกรรมจำนวน 4 ชุด และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของการจัดการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีน ยังประสบปัญหาในหลากหลายด้าน ได้แก่ ด้านผู้สอน ด้านสื่อการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านผู้เรียน 2) ชุดกิจกรรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.82/82.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 3) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แสดงว่าชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ ที่สร้างขึ้นสามารถนําไปใช้เป็นโมเดลในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคำศัพท์ สำหรับนักศึกษาหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนได้

References

ภาษาไทย

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.

นภาลักษณ์ ตั้งอรุณศิลป์, สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์, และ อุดม รัตนอัมพรโสภณ. (2560). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนวิชาภาษาจีนขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาการจำอักษรจีนโดยใช้เทคนิคมอร์ฟฟิ่งร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(1), 85-97.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

ปุณยพัทธ์ โถชาลี. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมนิทาน เพลงภาษาจีน ด้วยการสอนแบบ CIPPA Model ร่วมกับ Top-Down Model ที่ส่งผลต่อทักษะการฟัง ทักษะการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. SNRU e-Thesis. https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/thesis_detail?r=60421231203

เพ็ญนภา ตลับกลาง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีสอนกิจกรรมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขียนเขต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2420/1/60254310.pdf

พระอาทิตย์ อินทร์ติ๊บ และ วีระศักดิ์ ชมภูคำ. (2566). การพัฒนาความสามารถและคุณลักษณะด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิดวิธีธรรมชาติ/สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 2. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย JOURNAL OF GRADUATE RESEARCH, 14(1), 67-79.

รัฐพร ศิริพันธุ์. (2561). แนวทางการเตรียมความพร้อมและวิธีการเรียนสำหรับผู้เริ่มเรียนภาษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(1), 103-112.

สุชาดา ธูสรานนท์. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยใช้วิธีธรรมชาติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Thesis Online. http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000006925

โสภณา บัวศรี. (2562). การใช้แนวการสอนแบบธรรมชาติเพื่อพัฒนาความรู้คำศัพท์และความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14(3), 258-366.

สมถวิล วิจิตรวรรณา, สุภมาส อังศุโชติ, รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์, สุนิสา จุ้ยม่วงศรี, และ ชูศักดิ์ ศิริรุ่งพันธ์. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. เจรีญดีมั่นคงการพิมพ์.

Sun Liyun. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนภาษาจีนขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. DSpace Repository. https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/11472

Zhong Bingling. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการสื่อสารภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. Burapha University Research Information. https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/7394

ภาษาอังกฤษ

Krashen, S. D. & Terrell. T. D. (1998). The Natural Approach Language Acquisition in the Classroom. Prentice Hall Europe. https://www.sdkrashen.com/content/books/the_natural_approach.pdf

ภาษาจีน

Li Boling. (2013). 第二语言习得通论. 上海交通大学出版社.

Liu Xun. (2000). 对外汉语教育引论. 北京语言文化大学出版社.

Su Yingxia. (2015).国际汉语教学词汇教学方法与技巧. 北京语言大学出版

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30

How to Cite

ฉันทฤกษ์ผดุง จ. ., กิจชาลารัตน์ ข. ., & เฟื่องวงศ์สกุล ส. (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีน โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(3), EDUCU5203001. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/267132