แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคต สำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์

ผู้แต่ง

  • เขมิสรา กุลมาตย์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

แพลตฟอร์มดิจิทัล, ระบบนิเวศการเรียนรู้, กลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคต สำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคต สำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาการยอมรับและความเชื่อมั่นต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคต สำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น และ 3) เพื่อเผยแพร่ ถ่ายทอด และนำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ ไปใช้ประโยชน์ สร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาครอบคลุมทุกพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดนราธิวาส จำนวน 89 คน คัดเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยตามความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้ แบบประเมินวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ดิจิทัล และแบบสอบถาม การยอมรับและความเชื่อมั่นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคต ที่ได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว อยู่ในระดับมาก โดยครูกลุ่มวิชาชีพคณิตศาสตร์มีผลลัพธ์การเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเกณฑ์ 70 % คิดเป็นร้อยละ 91.01 2) ผลการศึกษาการยอมรับและความเชื่อมั่นต่อแพลตฟอร์มการเรียนรู้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (M = 4.30, SD = 0.7) และ 3) ดำเนินการเผยแพร่ ถ่ายทอด และใช้เทคโนโลยีร่วมกับการเรียนการสอนผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคต สร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาครอบคลุมทุกพื้นที่

References

ภาษาไทย

ขวัญชัย ขัวนา และ ธารทิพย์ ขัวนา. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ (E - LEARNING) รายวิชาการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 295-306.

ยศวดี ดำทรัพย์, ณรงค์ พุทธิชีวิน, และ วันชัย ธรรมสัจการ. (2562). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(เพิ่มเติม 1), 272-293.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแบ่งความหมาย: เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัยการศึกษา.

วิไลวรรณ วงศ์จินดา, สุวิมล พิบูลย์, และ อนันท์ คัมภิรานนท์. (2564). แพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อ การพัฒนาทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาขาวิชาทางการศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ศศิพร เหมือนศรีชัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ ERP Software ของผู้ใช้งานด้านบัญชี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์] TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:121437

สมรักษ์ นันตา. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องการใช้โปรแกรม Scratch วิชา การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครไตรตรึงษ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1, 90-99. https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/21452021-03-04.pdf.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สภาวะการศึกษาไทย 2561-2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ภาษาอังกฤษ

Alwin, O. (1970). College effects on educational and occupational attainments. American Sociological Review, 39(2), 210-223.

Christensen, C. M. (2012). The innovator's prescription: A disruptive solution for health care. McGraw-Hill Education.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319–340. https://doi.org/10.2307/249008

Göksün, D. O., & Kurt, A. A. (2017). The relationship between pre-service teachers' use of 21st-Century learner skills and 21st-Century teacher skills. Education and Science, 42(190), 107-130. https://doi.org/10.15390/eb.2017.7089.

García-Holgado, A., & García-Peñalvo, F. J. (2017). Preliminary validation of the metamodel for developing learning ecosystems. In J. M. Dodero, M. S. Ibarra Sáiz, & I. Ruiz Rube (Eds.), Fifth International Conference on Technological Ecosystems for Enhancing Multiculturality (TEEM’17) (Cádiz, Spain, October 18-20, 2017) (Article 91). New York, NY, USA: ACM

Jewyam, J., Songbundit, A., & Srisopha, Y. (2022). The Development of a Multilevel Structural Equation Modeling of Buddhist Ethics of School Adminnistrators affecting the Psychological and Behavior of Teacher in the Buddhist Oriented School under the Office of Basic Education Commistion. Journal of MCU Buddhapanya Review, 7(2), 167-181.

Kondratova, I., Molyneaux, H., & Fournier, H. (2017). “Design considerations for competency functionality within a learning ecosystem.” Learning and collaboration technologies: Novel learning ecosystems. Cham: Springer International Publishing.

Mungprasert, K., Prawatrungruang, S., & Sriprasertpap, K. (2022). Teachers Competency Model in the Era of Thailand 4.0, Phetchaburi Secondary Education Service Area Office. Journal of MCU Buddhapanya Review, 7(1), 78-88.

Pimentel, J. L. (2010). A note on the usage of Likert Scaling for research data analysis. USM R & D, 18(2), 109-112.

Seels, B. B., & Richey, R. C. (1994). Instructional technology: The definition and domains of the field. Association for Educational Communications and Technology.

Veeramanickam, M. R. M., & Ramesh, P. (2022). Analysis on quality of learning in e-Learning platforms. Advances in Engineering Software, 172, 103168.ttps://doi.org/10.1016/j.advengsoft.2022.103168.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30

How to Cite

กุลมาตย์ เ. (2024). แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคต สำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(3), EDUCU5203006. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/266534