การพัฒนาความรู้สึกเชิงปริภูมิ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบของ Van Hiele ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโยธินบูรณะ

ผู้แต่ง

  • พัชรพร ประพาฬ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กนกวรรณ คงมี กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนโยธินบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
  • ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความรู้สึกเชิงปริภูมิ, การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของ Van Hiele, สื่อประสม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาความรู้สึกเชิงปริภูมิ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของ Van Hiele ร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนโยธินบูรณะ ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม 1 ห้องเรียน จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของ Van Hiele ร่วมกับสื่อประสม 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัย พบว่า ความรู้สึกเชิงปริภูมิ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของ Van Hiele ร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียน (M = 23.86, SD = 2.58) สูงกว่าก่อนเรียน (M = 18.12, SD = 3.89) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

Author Biographies

กนกวรรณ คงมี, กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนโยธินบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ครูพี่เลี้ยง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนโยธินบูรณะ

ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อาจารย์สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

References

ภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกณิกา กรกัญญพัชร. (2561). การศึกษาความรู้สึกเชิงปริภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33(1), 179-187.

จันทิมา แตงทอง. (2559). กิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. Burapha University Research Information (BUUIR). https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/11715

ชลดา ปานสมบูรณ์, น้ำผึ้ง ชูเลิศ, และ ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับสื่อประสม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 50(2), 1-11. https://doi.org/10.144456/educu.2022.15

ธนัชพร ตันมา. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน โดยใช้เทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนรายบุคคลร่วมกับสื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ธิดารัตน์ คล้ายอักษร, และ ธนัชยศ จำปาหวาย. (2562). การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพื้นที่ผิวของปริซึม โดยใช้สื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 3(2), 11-19.

เบญจมาศ หลักบุญ. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพรตพิทยพยัตโดยใช้สื่อประสม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิซิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. บริษัท เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์ จำกัด.

ยุพิน พิพิธกุล. (2539). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. บพิธการพิมพ์.

สถาบันส่งสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). การอบรมครูด้วยระบบทางไกลสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาหลักสูตรมาตรฐานการอบรมครูปีที่ 1. ม.ป.ท.

สิริพร ทองมาลี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ โดยใช้การจัตกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบของ van Hiele สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอ่าวน้อยวิทยานิคม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at silpakorn university. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3331

สิริพร ทิพย์คง. (2532). เวนฮีลี โมเดล:ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้เรขาคณิต. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 5(3), 91-98.

ภาษาอังกฤษ

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30

How to Cite

ประพาฬ พ. ., คงมี ก. ., & ศรีศิริวัฒน์ ธ. . (2024). การพัฒนาความรู้สึกเชิงปริภูมิ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบของ Van Hiele ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโยธินบูรณะ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(3), EDUCU5203007. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/262406