ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิด ความผูกพันต่อโรงเรียนของครอบครัวและชุมชน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2023.27คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้, กระบวนการคิดเชิงออกแบบ, ความผูกพันต่อโรงเรียนของครอบครัวและชุมชน, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมระหว่างหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีแบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.1 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (t-test one sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนจำนวน 5 กลุ่ม มีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมอยู่ในระดับสูง รองลงมาคือระดับสูงมาก จำนวน 4 กลุ่ม และระดับปานกลาง จำนวน 1 กลุ่ม โดยคิดเป็นร้อยละ 50, 40 และ 10 ของกลุ่มนักเรียนทั้งหมดตามลำดับ 2) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.27, S.D. = 0.16)
References
ภาษาไทย
พิชญา กล้าหาญ และวิสูตร โพธิ์เงิน. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(2), 1-16.
พิชญา ดีมี. (2559). การพัฒนาแนวทางการประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนตามแนวคิดการประเมินผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร). ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2560). การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. Retrieved from
http://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thingking.Learning.by.Doing.pdf
สวภพ เทพกสิกุล. (2559). แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนตามแนวคิดการเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ:
พริกหวานกราฟฟิค.
ภาษาอังกฤษ
Battelle for Kids. (2019). Partnership for 21st Century Learning: A Network of Battelle for Kids. Retrieved from https://www.battelleforkids.org/networks/p21.
Berg, C. A., Melaville, A., & Blank, J. M. (2006). COMMUNITY & FAMILY ENGAGEMENT PRINCIPALS SHARE WHAT WORKS. Washington, DC: Institute for Educational Leadership.
Brabrand, C., and Dahl, B. (2009). Using the SOLO taxonomy to analyze competence progression of university science curricula. Higher Education, 58(4). 531–549.
Department of Education, Queensland Government. (2020). Advancing Partnerships Parent and Community Engagement Framework. Retrieved from https://education.qld.gov.au/parents/community-engagement/Documents/pace-framework.pdf
IDEO.org. (2015). The Field Guide to Human-Centered Design. Canada: Design Kit.
Potter, M. K., and Kustra, E. (2012). A Primer on Learning Outcomes and the SOLO Taxonomy. Centre for Teaching and Learning: University of Windsor.
Shumow, L., and Schmidt, J. A. (2014). Parent engagement in science with ninth graders and with students in higher grades. School Community Journal, 24(1), 17–36.
The Stanford d.school Bootcamp Bootleg. (2010). D.school bootcamp bootleg: Institute of design at Standford. Retrieved from http://dschool.stanford.edu/wpcontent/uploads/2011/03/BootcampBootleg2010v2SLIM.pdf
Yang, C. M., & Man, H. T. (2018). Applying Design Thinking Process in Student’s Project: A case of EGF Products. MATEC Web of Conferences, 201(04003), 1-13. https://doi.org/10.1051/matecconf/201820104003.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.