แนวปฏิบัติการสอนดนตรีจากตำราสอนทฤษฎีและปฏิบัติเปียโนฟอร์เตฉบับสมบูรณ์ ของ คาร์ล เชอร์นี ผลงานลำดับที่ 500
คำสำคัญ:
คาร์ล เชอร์นี, ลุดวิค ฟาน เบโทเฟน, ตำราสอนเปียโน, แนวปฏิบัติการแสดงดนตรีบทคัดย่อ
คาร์ล เชอร์นี คีตกวีนักเปียโน ผู้เป็นปรมาจารย์ด้านการสอนเปียโนที่โด่งดังที่สุดในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากแบบฝึกหัดเปียโนที่นิยมอย่างแพร่หลาย เชอร์นียังได้สร้างผลงานการประพันธ์จำนวนมากกว่า 861 ลำดับ อีกทั้งได้เขียนอัตชีวประวัติ และตำราสอนที่สำคัญ เช่น ตำราสอนทฤษฎีและปฏิบัติเปียโนฟอร์เตฉบับสมบูรณ์ ผลงานลำดับที่ 500 ซึ่งประกอบด้วยกัน 4 เล่ม โดยสองเล่มแรกเป็นแนวทางในการฝึกพัฒนาเทคนิคการเล่นเปียโนอย่างชัดเจนเป็นลำดับ หลักการพื้นฐานทางดนตรี และหลักการเลือกใช้นิ้ว พร้อมด้วยโน้ตตัวอย่างที่จำเป็น ในเล่มที่สามมุ่งเน้นเรื่องความละเอียดอ่อนในความรู้สึก และความเข้าใจแนวทางการเล่นดนตรีรวมไปถึงการแปรเปลี่ยนการเล่นของผู้แสดง ในส่วนสุดท้าย เป็นเล่มเสริมต่อจากเล่มที่สาม ได้อธิบายลักษณะของบทประพันธ์ยุคโรแมนติกแนวใหม่ และให้ข้อเสนอแนะการตีความบทเพลงเปียโนของ ลุดวิค ฟาน เบโทเฟน ผู้เป็นครูของเขา ตำรากลวิธีการสอนเปียโนชุดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับแบบฝึกหัดนิ้วต่าง ๆ ในการสอนดนตรีทุกวันนี้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงสำคัญสำหรับ
แนวปฏิบัติการแสดงดนตรี โดยบทความนี้ได้นำเสนอบันทึกการเรียนของเชอร์นีกับเบโทเฟนและสรุปภาพรวมเนื้อหาทั้งหมดของตำราชุดนี้พร้อมยกตัวอย่างประกอบ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับครูและนักเปียโน ในการศึกษาแนวทางการสอนอย่างเป็นระบบของเชอร์นีที่ปัจจุบันอาจถูกมองข้าม เพื่อนำไปใช้พัฒนาทักษะปฏิบัติการเล่นเปียโนต่อไป
References
ภาษาไทย
ณัชชา พันธุ์เจริญ (2552). พจนานุกรม ศัพท์ดุริยางคศิลป์. เกศกะรัต.
ภาษาอังกฤษ
Czerny, C. (1839). Complete theoretical and practical piano forte school: From the first rudiments of playing to the highest and most refined state of cultivation with the requisite numerous examples newly and expressly composed for the occasion in 3 volumes, (J. A. Hamilton, Trans.). R. Cocks & Co.
Czerny, C. (1839). Vollständige theoretisch-praktische Pianoforte-Schule: von dem ersten Anfange bis zur höchsten Ausbildung fortschreitend, und mit allen nöthigen, zu diesem Zwecke eigends componierten zahlreichen Beispielen, in 4 Teilen. A. Diabelli & Comp.
Czerny, C. (1846). Die Kunst des Vortrags der ältern und neuen Claviercompositionen oder: Die Fortschritte bis zur neuesten Zeit. A. Diabelli & Comp.
Czerny, C. (1963). Über den richtigen Vortrag der sämtlichen Beethoven’schen Klavierwerke, nebst Czerny’s Erinnerungen an Beethoven nebst Czerny (P. Badura-Skoda, Ed.). Universal Edition.
Czerny, C. (1968). Erinnerungen aus meinem Leben, In W. Kolneder (Ed.), Collection d’etudes musicologiques/Sammlung musikwissenschaftlicher Abhandlungen 46.
Göllerich, A. (1908). Franz Liszt. Marquardt & Co.
Lindeman, S. (2001). Czerny, Carl, In S. Sadie (Ed.), The new Grove dictionary of music and musicians (vol. 6). Oxford University Press.
Pazdìrek, F. (1904) Universal-Handbuch der Musikliteratur alle Zeiten und Völker. Als Nachschlagewerk und Studienquelle der Welt-Musikliteratur (vol. 3). Pazdírek & Co.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.