การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติเพื่อพัฒนาความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 รายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2021.32คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, ทักษะปฏิบัติ, การออกแบบการจัดการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการทดลอง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติ เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติ แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติสามารถพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมได้ในระดับดี ( = 4.42,
= .13) 2. การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติสามารถพัฒนาความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (d = +26.53) 3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติในระดับมากที่สุด (
= 4.70,
= .31) โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุดเท่ากัน 4 รายการ (
= 4.82,
= .39) ได้แก่ 1) นักศึกษาได้รับการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ 2) ผู้สอนมีความสามารถในการอธิบายและถ่ายทอดความรู้ 3) ผู้สอนเปิดโอกาสให้สอบถามและแสดงความคิดเห็น 4) ผู้สอนมีเวลาให้เข้าพบหรือปรึกษานอกเวลา
References
กฤตมุข ไชยศิริ. (2559). การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันเรื่องการร้อยลูกปัด วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ). การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กฤษฎา วรพิน. (2563). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดเพชรบุรี. Journal of Education Studies. 48(4), 1-19.
จรัสศรี พัวจินดาเนตร. (2558). การวิจัยรูปแบบการสอนทักษะการปฏิบัติในงานตัดเย็บด้วยกิจกรรมหมอนแฟนซี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุมพล ผสมทรัพย์ และกอบสุข คงมนัส. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานและโซเชียลมีเดียเพื่อพัฒนาการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี. Journal of Education Naresuan University. 23(1), 131-141.
ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์ (2563) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบบูรณาการบนห้องเรียนเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมวิธีคิดแบบเติบโต และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 10(2), 146-156.
ทัศนีย์ สุอาราม และพรรณราย เทียมทัน. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวิส์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทำงาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38), 149-162.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2560). การพัฒนาแบบฝึกการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับครูวิชาเอกวิทยาศาสตร์. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 10(1), 656–665.
เบญจวรรณ กี่สุขพันธ์, พันพัชร ปิ่นจินดา และอลงกรณ์ เกิดเนตร. (2561). การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน. ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์.
ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-71. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. เทียนวัฒนา พริ้นท์ติ้ง.
วันเพ็ญ โพธิ์เกษม, ขนิษฐา กุลนาวิน, กฤติกา เผื่อนงูเหลือม และประภานุช ถีสูงเนิน. (2559). ศึกษาความพึงพอใจวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาในวิชาสัมมนาของโปรแกรมวิชาวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3(2), 134-145.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). หัวใจของการเรียนรู้. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://www.curriculumandlearning.com/ upload/Books/หัวใจของการเรียนรู้_1600041714.pdf
ศักดิ์ชัย ไชยรักษ์ และปณิตา วรรณพิรุณ. (2563). เทคโนโลยีทางปัญญาเพื่อการศึกษาอัจฉริยะ. Panyapiwat Journal, 12(3), 315-328.
สิริมณี บรรจง (2553). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยใช้วิธีสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/926
อลงกรณ์ เกิดเนตร และสมยศ เผือดจันทึก. (2563). การใช้รูปแบบ KOI เพื่อพัฒนาการออกแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21. Panyapiwat Journal, 12(2), 316-328.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน ฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
ภาษาอังกฤษ
Atkinson, S. P. (2018, September 2). The role of the psychomotor domain in higher education. https://sijen.com/tag/harrow/
Chaiyarak, S., Koednet, A., & Nilsook, P. (2020). Blockchain, IoT and fog computing for smart education management. International Journal of Education and Information Technologies, 14, 52–61. https://doi.org/10.46300/9109.2020.14.7
Dave, R. H. (1970). Developing and writing behavioral objectives. (R J Armstrong, ed.) Educational Innovators Press.
Feng, D., & Hao, W. (2009). Analysis of certain methods in management science that aimed to development students’ practical skills and career skills. First International Workshop on Education Technology and Computer Science, 2, 404-408. https://doi.org/10.1109/ETCS.2009.352
Haitang, Z., Jinqing, J., Ziliang, W., Jinshan, C., & Yanhong, C. (2011). Study on approach to improve the quality of veterinary medicine graduates by strengthen practical skills. International Symposium on Intelligence Information Processing and Trusted Computing, 127-130. https://doi.org/10.1109/IPTC.2011.39
Hart, T. (2018, December 5). Practical work: the benefits, challenges, and solutions. Cambridge University Press. https://www.cambridge.org/us/education/blog/2018/ 12/05/practical-work-benefits-challenges-and-solutions/
Stauffer, B. (2019, September 1). What is a lesson plan? Applied education systems. https://www.aeseducation.com/blog/what-is-a-lesson-plan
Zezekwa, N., & Nkopodi, N. (2020). Physics teachers’ views and practices on the assessment of students’ practical work skills. Eurasia Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 16(8). https://doi.org/10.29333/EJMSTE/8289
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.