แรงจูงใจที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • Khwaiphan, W. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • Khummuang, S. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2021.31

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การเข้าศึกษาต่อ, ปริญญาตรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในคณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วย ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวม นิสิตมีแรงจูงใจในการเข้าศึกษาคณะนี้อยู่ในระดับมาก  (µ = 3.65)  โดยด้านความมั่นคง และความก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความถนัดและสนใจในอาชีพ ด้านสถาบัน ด้านการประชาสัมพันธ์ส่วนด้านอิทธิพลการชักจูงจากบุคคลอื่นมีค่าเฉลี่ยคะแนนต่ำที่สุดและอยู่ในระดับน้อย นอกจากนี้พบว่า นิสิตที่เลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อในด้านความถนัดและความสนใจในอาชีพแตกต่างกันและรายได้ของผู้ปกครองที่แตกต่างกันมีผลในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันแตกต่างกัน

References

กิ่งแก้ว จงรัก, สมฤดี สาลี, อัญชลี สุขกรี, อุษณี มาประกอบ, นริศรา ตังสุรัตน์, และ ศิรินารถ จุลวัฒน์. (2547). ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2547 มหาวิทยาลัยจันทรเกษม. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง, โชติรัตน์ อินทสะโร, วรรณะ วิจิตร, และ ภัทรมณี แก้วจันทร์. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา. ใน ปกรณ์ ลิ้มโยธิน (บ.ก.), การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 (น. 948-959). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. (2556, 1 พฤษภาคม). ประวัติความเป็นมา. http://ece.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=17394
จุฑามาศ ชูจินดา, กิติยานภาลัย ภู่ตระกูล, และ ณภัทร โชคธนินกุล. (2558). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 66-77.
ชาญวิทย์ กลิ่นเลขา. (2539). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนอาชีวศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสมุทรสงคราม [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ณัฐกานต์ พึ่งกุศล. (2559). เหตุจูงใจในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์. ใน พณณา ตั้งวรรณวิทย์, ชัยณรงค์ ขันผนึก, บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย (บ.ก.) การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 16 และการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ครั้งที่ 3 “งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” (น. 196-203). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ปฐม นิคมานนท์. (2528). การศึกษานอกระบบมหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. ทิพย์อักษร.
มีสิทธิ์ ชัยมณี. (2559). การเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารวิชาการ มทรสุวรรณภูมิ ฉบับมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 97-107.
ระเบียบ อรชร. (2537). มูลเหตุจูงใจในการศึกษาต่อวิชาชีพคหกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุชีวา สิทธิจินดา. (2560). เหตุจูงใจที่ใช้ในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คระวิทยาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร (น. 889-898). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
อมรรัตน์ เจริญชัย. (2531). แนะแนวอาชีพคหกรรมศาสตร์. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 32, 21-24.
อารี พันธ์มณี. (2534). จิตวิทยาการเรียนการสอน. ต้นอ้อ.
อุไรวรรณ โพธิเทวัญ. (2539). สิ่งจูงใจในการเลือกเรียนหลักสูตรธุรกิจศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เอนก ชิตเกษร. (2542). มูลเหตุจูงใจในการตัดสินใจเลือกศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ. รายงาน การวิจัย. เชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21

How to Cite

ไขว้พันธุ์ ว. ., & ขำเมือง ส. . (2021). แรงจูงใจที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(2), EDUCU4902010. https://doi.org/10.14456/educu.2021.31