ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมทางกายตามทฤษฎีการกำกับตนเองที่มีต่อการลดพฤติกรรมติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
โปรแกรมกิจกรรมทางกาย, ทฤษฎีการกำกับตนเอง, พฤติกรรมการติดเกม, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและของกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง ประเมินโดยผู้ปกครอง ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2–3 จำนวน 50 คน โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน ผู้วิจัยใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายตามทฤษฎีการกำกับตัวเองที่มีต่อการลดพฤติกรรมติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินการติดเกม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมหลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมติดเกมหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมหลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมซึ่งประเมินโดยผู้ปกครอง หลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชาญวิทย์ พรนภดล. (2547). โรคสมาธิสั้น. ใน วินัดดา ปิยะศิลป์ และ พนม เกตุมาน (บ.ก.), ตำราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น. บียอนด์เอนเทอร์ไพรซ์.
เชษฐา เมี้ยนมนัส. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางเทคโนโลยี่ที่มีผลกระทบต่อเด็กไทยจากการติดเกมส์ [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMU Intellectual Repository. http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/13444
นุจิอาภา ขจรบุญ. (2551). ผลของโปรแกรมการป้องกันปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือแบบทีมสัมฤทธิ์ที่มีต่อนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33037
ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร. (2557). สอนลูกให้มีทักษะชีวิต (Life skill). Education.life skill. https://sites.google.com/site/educationpj/bthkhwam/sxnlukhimithaksachiwitlifeskills
ปัณณธร ชัชวรัตน์. (2552). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเกมส์ของเยาวชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพะเยา.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.
วรารัตน์ ทรัพย์อิ่ม. (2552). ผลของการให้การศึกษาด้านโภชนาการสำหรับผู้ปกครองเด็กวัยอนุบาลที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยใช้โมเดลปลาทู [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://lib.edu.chula.ac.th/IWEBTEMP/25630910/1408175131436117.PDF
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2552). ตัวชี้วัดสำคัญ ผลสำมะโน/สำรวจ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2551. http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/indicator/indSur51.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). วิเคราะห์เด็กและเยาวชน พ.ศ. 2557. http://service.nso.go.th/nso/
nsopublish/pubs/e-book/e280958-1/files/assets/basic-html/index.html#1
ภาษาอังกฤษ
Bandura, A. (1997). Self–efficacy: The exercise of control. W.H. Freeman and Company.
Mclean, D. D., (2005). Kraus’ recreation and leisure in modern society. Jones and Barlet.