การพัฒนาตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง

ผู้แต่ง

  • กิตติกันตพงศ์ ศรีบัวนำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วีรฉัตร์ สุปัญโญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พัฒนาตัวบ่งชี้, การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล, ชุมชนเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมืองกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 297 ชุมชน ใน 24 เขตของกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 5,807 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง ประกอบด้วยด้านกาย ได้แก่ การเสียสละ 6 ตัวบ่งชี้ การเคารพกติกาสังคม 5 ตัวบ่งชี้ และการยอมรับซึ่งกันและกัน 5 ตัวบ่งชี้ ด้านวาจา ได้แก่ การพูดถูกกาลเทศะ 5 ตัวบ่งชี้ และการพูดสร้างสรรค์ 6 ตัวบ่งชี้ และด้านใจ ได้แก่ การทัศนคติที่ดีต่อความแตกต่างระหว่างของบุคคล จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ การปรารถนาดีต่อผู้อื่น 8 ตัวบ่งชี้ และการรักษาความดีของตัวเอง จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งสิ้น 50 ตัวบ่งชี้ และ 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (Second order confirmatory factor analysis) พบว่า โมเดลมี
ความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาได้จากค่าไคสแควร์ (Chi-square) มีค่าเท่ากับ 1344.94 ค่า
ความน่าจะเป็น เท่ากับ 0.16 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน เท่ากับ 0.85 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว เท่ากับ 0.81 และค่าความคลาดเคลื่อน เท่ากับ 0.08

Author Biographies

กิตติกันตพงศ์ ศรีบัวนำ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วีรฉัตร์ สุปัญโญ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

รายการอ้างอิง
ภาษาไทย

ชูพินิจ เกษมณี. (2555). ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมพหุลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

น้ำทิพย์ พรพัฒนานิคม. (2554). การศึกษาหลักสารณียธรรมเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ของนักเรียนในโรงเรียนราชวินิต มัธยม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์ พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2558). ชุมชนบ้านครัวคือบ้านบางระจัน. สืบค้นจาก https://lek-prapai.org/home/
view.php?id=940

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). การสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. (2555). แนวโน้มการเติบโตของชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2554. [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงเทพมหานคร: บี เอส การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ [สคช.]. (2553). ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย พ.ศ.2549-2552. กรุงเทพมหานคร.

สุรไกร นันทบุรมย์ และ วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2558). ผลของการใช้กิจกรรมลดอคติตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาที่มีต่อเจตคติความเข้าใจในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์, 43(1), 139-154.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2555). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม: กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณ รักธรรม. (2551). การบริหารบุคคลในระบบราชการไทย. กรุงเทพมหานคร. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภาษาอังกฤษ

Defleur, M. L., & Ball-Rokeach,S. J. (1996). Theories of mass communication. London: Longman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-30

How to Cite

ศรีบัวนำ ก., & สุปัญโญ ว. (2019). การพัฒนาตัวบ่งชี้การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(3), 46–63. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/218814