การศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต (The CARE) สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • นันทกา สุปรียาพร สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของครู, การรับรู้ความสามารถด้านสุขภาพจิต, สุขภาพจิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, ปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่น, สุขภาพจิตโรงเรียน

บทคัดย่อ

ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้านสุขภาพจิตเบื้องต้น อย่างไรก็ตามความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของครูยังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต (The CARE) สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบการประเมินผล
ก่อนและหลังทดลองโดยมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่ปรึกษาและครูแนะแนวที่สอนอยู่ในระดับมัธยมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยการสุ่มอย่างง่ายจากรายชื่อผู้ที่สนใจเข้าร่วมวิจัยจำนวน 48 คน จากการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจนครบกลุ่มละ 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสอบถามลักษณะทั่วไป 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตสำหรับครูและ 3) แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนด้านสุขภาพจิตสำหรับครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าสถิติทดสอบไควสแควร์ (χ2) สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุนามแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่าหลังจากเข้าร่วมโปรแกรม The CARE กลุ่มทดลองมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต (M =15.83, SD = 1.60, t (23) = -7.37) และคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนด้านสุขภาพจิต (M = 64.04, SD = 4.61, t (23) = -9.71) สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .016 นอกจากนี้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกับช่วงเวลาในการวัดมีอิทธิพลต่อคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต (F(1, 46) = 24.69, p = .000, η2 = .349) และการรับรู้ความสามารถแห่งตนด้านสุขภาพจิต (F(1, 46) = 76.77, p = .000, η2 = .625) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่า โปรแกรม The CARE สามารถช่วยส่งเสริมให้ครูมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและรับรู้ความสามารถของตนด้านสุขภาพจิตเพื่อที่จะสามารถนำเอาไปใช้ในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นในโรงเรียน

References

ภาษาไทย

นันทกา สุปรียาพร (2566). สุขภาพจิตโรงเรียน:แนวทางการส่งเสริมสุขภาพจิตวัยรุ่น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 51(1). https://doi.org/10.14456/educu.2023.2

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์ จำกัด.

วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, รัตนศักดิ์สันติธาดากุล, และ ชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. (2563). ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย: การสำรวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ. Journal of Mental Health of Thailand, 28(2), หน้า 136-149.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2565). การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ระบบและบริการสนับสนุนทางจิตใจและจิตสังคมสำหรับเด็กและวัยรุ่นในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก: รายงานฉบับประเทศไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. https://www.unicef.org/thailand/media/8876/file/MHPSS%20Report%202022.pdf.

ภาษาอังกฤษ

Bowen, D. J., Kreuter, M., Spring, B., Cofta-Woerpel, L., Linnan, L., Weiner, D., … Fernandez, M. (2009). How We Design Feasibility Studies. American Journal of Preventive Medicine, 36(5), 452–457. https://doi.org/10.1016/j.amepre.2009.02.002

Fuseekul, N., Orchard, F., & Reynolds, S. (2021). Depression among adolescents in Thailand: Cross-cultural assessment of depression and development of a mental health education programme for Thai teachers. [Doctoral dissertation, University of Reading]. CentAUR: Central Archive University of Reading. https://doi.org/10.48683/1926.00109385University of Reading.

Gimba, S. M., Harris, P., Saito, A., Udah, H., Martin, A., & Wheeler, A. J. (2020). The modules of mental health programs implemented in schools in low- and middle-income countries: findings from a systematic literature review. BMC Public Health, 20(1). https://doi.org/10.1186/s12889-020-09713-2

Jorm, A. F. (2012). Mental health literacy: Empowering the community to take action for better mental health. American Psychologist, 67(3), 231–243. https://doi.org/10.1037/a0025957

Kongsuk, T., Supanya, S., Kenbubpha, K., Phimtra, S., Sukhawaha, S., & Leejongpermpoon, J. (2017). Services for depression and suicide in Thailand. WHO South-East Asia Journal of Public Health, 6(1), 34–48. https://doi.org/10.4103/2224-3151.206162

Maggu, G., Verma, V., Chaudhury, S., & Indla, V. (2023). Epidemic of Depression and Anxiety in child and adolescent population during COVID-19 pandemic: A systematic review and meta analysis of the prevalence of depression and anxiety. Indian J Psychiatry, 65(3), 299–309.

Muenchhausen, S. V., Braeunig, M., Pfeifer, R., Göritz, A. S., Bauer, J., Lahmann, C., & Wuensch, A. (2021). Teacher Self-Efficacy and Mental Health—Their Intricate Relation to Professional Resources and Attitudes in an Established Manual-Based Psychological Group Program. Frontiers in Psychiatry, 12(510183). https://doi.org/10.3389/fpsyt.2021.510183

Nguyen, A. J., Dang, H.-M., Bul, D., Phoeun, B., & Welss, B. (2020). Experimental Evaluation of a School-Based Mental Health Literacy Program in two Southeast Asian Nations. School Mental Health, 12(4), 716–731. https://doi.org/10.1007/s12310-020-09379-6

Nishio, A., Kakimoto, M., Bermardo, T. M. S., & Kobayashi, J. (2020). Current situation and comparison of school mental health in ASEAN countries. Pediatrics International, 62(4), 438–443. https://doi.org/10.1111/ped.14137

Radez, J., Reardon, T., Creswell, C., Lawrence J., P., Evdoka-Burron, G., & Waite, P. (2020). Why do children and adolescents (not) seek and access professional help for their mental health problems? A systematic review of quantitative and qualitative studies. European Child and Adolescent Psychiatry, 30(2), 183–211. https://doi.org/10.1007/s00787-019-01469-4

Reis, A.C., Saheb, R., Moyo, T. Smith, C., & Sperandei, S. (2021). The Impact of Mental Health Literacy Training Programs on the Mental Health Literacy of University Students: a Systematic Review. Prev Sci, 23, 648–662. https://doi.org/10.1007/s11121-021-01283-y

Tay, K. W., Ong, A. W. H., Pheh, K. S., Low, S. K., Tan, C. S., & Low, P. K. (2019). Assessing the Effectiveness of a Mental Health Literacy Programme for Refugee Teachers in Malaysia. The Malaysian Journal of Medical Sciences, 26(6), 120–126. https://doi.org/0.21315/mjms2019.26.6.12

World Health Organization. (2017). Depression and Other Common Mental Disorders Global Health Estimates. https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/254610/WHO-MSD-MER-2017.2-eng.pdf?sequence=1

Xiao, Q., Song, X., Huang, L., Hou, D., & Huang, X. (2022). Global prevalence and characteristics of non-suicidal self-injury between 2010 and 2021 among a non-clinical sample of adolescents: A meta-analysis. Frontiers in Psychiatry, 13. https://doi.org/10.3389/fpsyt.2022.912441

Yamaguchi, S., Foo, J. C., Nishida, A., Ogawa, S., Togo, F., & Sasaki, T. (2018a). Mental health literacy programs for school teachers: A systematic review and narrative synthesis. Early Intervention in Psychiatry, 14(1). https://doi.org/10.1111/eip.12793

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30

How to Cite

สุปรียาพร น. ., & สกุลศรีประเสริฐ ไ. (2024). การศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต (The CARE) สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(3), EDUCU5302011. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/264770