การศึกษาความสามารถในการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ

Main Article Content

อัจจิมา ม่วงน้อย
สิทธิพล อาจอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้จุดประสงค์เพื่อ


  1. ศึกษาความสามารถในการพูดภาษาจีนของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ โดยนักเรียนมีคะแนนความสามารถในการพูดภาษาจีนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด และ

  2. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการพูดภาษาจีน เฉลี่ยเท่ากับ 21.77 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.07 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 28 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้           2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับบทบาทสมมติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
[1]
ม่วงน้อย อ. . . และ อาจอินทร์ ส. ., “การศึกษาความสามารถในการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ”, EDGKKUJ, ปี 12, ฉบับที่ 2, น. 131–137, มิ.ย. 2018.
บท
บทความวิจัย (Research article)

References

เกศรา อินทะนนท์. (2556). ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ TGT. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เขมณัฏฐ์ ทรัพย์เกษมชัย. (2557). เปิดตำนานผ่านอักษรจีน. กรุงเทพฯ: มติชน.
คมปกรณ์ การพิรมย์. (2556). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนัชพร บุญปัน. (2548). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) โดยการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือกันเรียนรู้แข่งขันกันเป็นทีม (TGT). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยา-สาส์น.
ประกาศิต อานุภาพแสนยากร. (2555). การจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา. (2558). รายงานผลการเรียนรายวิชาภาษาจีน. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียน. (เอกสารอัดสำเนา).
ศุภชัย แจ้งใจ. (2552). รายงานการวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนภาษาจีนของผู้เรียนสาขาวิเทศธุรกิจจีนและสาขาจีนศึกษา คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. สงขลา: คณะวิเทศศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สวัสดิ์ บันเทิงสุข. (2553). เทคนิคการพูด. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2545). แนวคิดและเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ. (2553). ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บางกอกบล๊อก.
อรพิน พจนานนท์. (2538). การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ในระดับประถมศึกษา. ขอนแก่น: โครงการผลิตเอกสารและตำราทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Ladousse, G. P. (1997). Role play. Oxford: Oxford University Press.