การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของ Underhill ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ปิยมาศ วิชาเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของ Underhill ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกัลยาณวัตร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 12 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 560 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 จำนวน 48 คน เลือกมาแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสะท้อนผลการปฏิบัติ และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสรุปความเรียง


ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของ Underhill ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนเป็นขั้นที่ครูเตรียมความพร้อม ทบทวนความรู้เดิมและแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ 2) ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ขั้นสร้างความขัดแย้งทางปัญญา เป็นขั้นที่นักเรียนทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาเสนอแนวคำตอบเป็นรายบุคคล การจัดกิจกรรมเน้นการคิดวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นกำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ ขั้นกำหนดปัญหาขั้นกำหนดหลักการ ขั้นการพิจารณาแยกแยะ และขั้นสรุปคำตอบ (2) ขั้นกิจกรรมไตร่ตรอง เป็นขั้นนำเสนอคำตอบในระดับกลุ่มย่อย มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นการคิดวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน เหมือนกับการปฏิบัติในขั้นตอน (1) (3) ขั้นสรุปผลการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา เป็นขั้นที่นักเรียนร่วมกันสรุปแนวความคิดหลักการ และแนวทางการแก้ปัญหาพร้อมทั้งเขียนข้อสรุปที่ได้เป็นแผนผังมโนทัศน์ 3) ขั้นวัดและประเมินผล เป็นขั้นนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ จากการทำแบบฝึกทักษะหรือแบบฝึกหัด
2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 16.64 คิดเป็นร้อยละ 83.22 คิดเป็นร้อยละ 89.58 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. คะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82.50 โดยมีคะแนนในขั้นกำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ ขั้นกำหนดปัญหา ขั้นกำหนดหลักการ ขั้นพิจารณาแยกแยะ และขั้นสรุปผล เฉลี่ยร้อยละ 89.58, 85.41, 81.25, 79.16 และ 78.12 ตามลำดับ พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทุกขั้นตอนอยู่ในระดับสูง

Article Details

How to Cite
[1]
วิชาเงิน ป., “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของ Underhill ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3”, EDGKKUJ, ปี 11, ฉบับที่ 3, น. 134–144, พ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย (Research article)