การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Learning Together (LT) รายวิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม

Main Article Content

นริศรา เหลาสา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Learning Together (LT) รายวิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ให้นักเรียนจำนวนร้อยละ 70 มีความสามารถในการแก้ปัญหาร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) ศึกษากระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Learning Together (LT) รายวิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ให้นักเรียนจำนวนร้อยละ 70 มีกระบวนการทำงานกลุ่มร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค Learning Together (LT) รายวิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ให้นักเรียนจำนวน ร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 2 โรงเรียนคอนสารวิทยาคม อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษารายกรณีวัดครั้งเดียว (One – Shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน เวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา มี 6 สถานการณ์ จำนวน 24 ข้อ 3) แบบประเมินกระบวนการทำงานกลุ่ม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหามีนักเรียนสอบผ่านเกณฑ์จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 82.50 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และมีเฉลี่ยเท่ากับ 36.85 คิดเป็นร้อยละ 77.24 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) กระบวนการทำงานกลุ่มมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 92.50 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดและมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.07 คิดเป็นร้อยละ 80.47 ของคะแนนเต็มซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีนักเรียนสอบผ่านเกณฑ์จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 77.50 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดและมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.48 คิดเป็นร้อยละ 74.92 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
[1]
เหลาสา น., “การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Learning Together (LT) รายวิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม”, EDGKKUJ, ปี 11, ฉบับที่ 3, น. 106–115, พ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย (Research article)