การลดพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งของนักเรียนที่มีภาวะออทิสซึม โดยใช้เทคนิคสโนซีเล็นกับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร

Main Article Content

สิริพร ศิริฟอง, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมกระตุ้นระบบการรับรู้ความรู้สึกตามเทคนิคสโนซีเล็นกับการ เสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร ในการลดพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งของนักเรียนที่มีภาวะออทิสซึมกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียน ที่มีภาวะออทิสซึม เพศชายจำนวน 2 คน ที่ได้รับการคัดกรองและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วปัจจุบันกำลังศึกษาที่ โรงเรียนอุดมพัฒน์ฟินิคซฯอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมมีการจัดห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติกใน โรงเรียน โดยที่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาคือไม่อยู่นิ่ง ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ ลุกออกจากที่นั่งก่อน เสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนการสอน รูปแบบในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว Single Subject Design วิธีสลับกลับ Reversal Single Subject Intra Replication or ABAB Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการใช้ กิจกรรมกระตุ้นการรับรู้และความรู้สึกตามเทคนิคสโนซีเล็นกับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรจำนวน 5 แผน 2) แบบบันทึก พฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง 3) แบบบันทึกปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยและ ค่าร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่าหลังจากการใช้กิจกรรมกระตุ้นการรับรู้และความรู้สึกตามเทคนิคสโนซีเล็นกับการเสริมแรงด้วยเบี้ย อรรถกรพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง ลุกจากที่นั่งของนักเรียนที่มีภาวะออทิสซึมในขณะทำกิจกรรมการเรียนการสอนลดลงและทำกิจกรรม การเรียนการสอนได้นานขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์ ส. ศ., “การลดพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งของนักเรียนที่มีภาวะออทิสซึม โดยใช้เทคนิคสโนซีเล็นกับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร”, EDGKKUJ, vol. 10, no. 4, pp. 133–137, Jun. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biography

สิริพร ศิริฟอง, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น