จิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การรวมกลุ่มทำกิจกรรม เพื่อประโยชน์แก่ท้องถิ่นของชุมชน บ้านหนองสนม ตำบลก้ามปู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในอดีตและปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนากระบวนการ จิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่เหมาะสมกับชุมชนบ้านหนองสนม 3) เพื่อประเมินพฤติกรรมกลุ่มคนที่ผ่านกระบวนการจิต พุทธอาสา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย ที่เลือกแบบเจาะจงจากผู้มีคุณลักษณะจิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น บ้านหนองสนม จำนวน 50 คน ชาย 27 คน หญิง 23 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน และประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิทยาวิจัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถามการสนทนากลุ่ม และแนวคำถามการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า
1. ชาวบ้านหนองสนมในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับสภาวะสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ชุมชน บ้านหนองสนมมีความเสื่อมถอย ทางคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามของไทย คนในชุมชนมีความสัมพันธ์และทำกิจกรรม ร่วมกันน้อยลง ครอบครัวขาดความอบอุ่น การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันสิ่งของและอาหารกันน้อยลง มีความคิดแตกแยก ขาดความรักความสามัคคี จึงจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคน ในชุมชนบ้านหนองสนม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้ร่วมกันสรุปและ กำหนดคุณลักษณะของกลุ่มคน ที่มีจิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายและทิศทางขับเคลื่อนงานวิจัย จำนวน 9 ข้อ โดยประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเป็นหลักยึดในการดำเนินชีวิตในชุมชน
2. กระบวนการจิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับชุมชนบ้านหนองสนม ประกอบด้วย กิจกรรมสร้าง จิตสำนึกรับผิดชอบต่อท้องถิ่นและคุณค่าอันดีงามของครอบครัวไทย 2 กิจกรรม และกิจกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ต่อท้องถิ่น 4 กิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 96 รู้และเข้าใจ ถึงประโยชน์ของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อท้องถิ่น มีความพร้อมและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมอย่างดี ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความเห็นว่ากิจกรรม การมีส่วนร่วมในกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นทั้ง 4 กิจกรรม ทำให้คนในชุมชนมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นสามารถ เข้าร่วมกิจกรรมที่ตนถนัดและทำประโยชน์แก่ชุมชนได้ เหมาะสมที่จะนำมาใช้พัฒนาชุมชนบ้านหนองสนม ในระดับมากที่สุด
3. กระบวนการในการขับเคลื่อนงานวิจัยจิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สามารถทำให้กลุ่มคนในชุมชนบ้านหนองสนม มีการเปลี่ยนแปลงความคิด และจิตสำนึกรับผิดชอบ ต่อท้องถิ่นและคุณค่าอันดีงามของครอบครัวไทย ก่อให้เกิดคุณลักษณะ ของผู้มีจิตพุทธอาสาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 9 ประการ ตามที่กำหนดไว้