การใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบ CYCLIC MODEL ตามทฤษฎี SENSORY INTEGRATION เพื่อลดพฤติกรรมซ้ำๆ ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมในระดับเตรียมความพร้อม

Main Article Content

อรทัย สอนทะมาตร, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบ Cyclic Model ตามทฤษฎี Sensory Integration ในการลดพฤติกรรมซ้ำๆ ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมในระดับเตรียมความพร้อม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ เด็กที่มีภาวะออทิสซึม ระดับเตรียมความพร้อม อายุ 3 ขวบ จำนวน 1 คน ที่มารับบริการที่ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก Step Plus Center จังหวัดมหาสารคาม ได้รับการคัดกรองและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว ว่ามีภาวะออทิสซึม ซึ่งเด็กมี พฤติกรรมซ้ำๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ได้แก่ การเดินเขย่งปลายเท้า การเดินโยกตัวไปมา การหมุนรอบตัวเอง และกระโดดขึ้นลง สลับขาไปมา เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบ Cyclic Model ตามทฤษฎี Sensory Integration และ แบบบันทึกความถี่ของพฤติกรรมซ้ำๆ แบบช่วงเวลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว Single Subject Design วิธีสลับกลับ Reversal Single Subject Intra Replication or ABAB Design โดยการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมกลุ่ม เป้าหมาย อย่างต่อเนื่องในชั่วโมงของการฝึกกระตุ้นพัฒนาการ และนำผลการบันทึกที่ได้มาแปลผลโดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบ Cyclic Model ตามทฤษฎี Sensory Integration สามารถลด พฤติกรรมซ้ำๆ ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมในระดับเตรียมความพร้อมได้ และค่าเฉลี่ยความถี่ของการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว แบบ Cyclic Model ตามทฤษฎี Sensory Integration ที่จำนวนความถี่ของรอบการจัดกิจกรรม แบบ 7 รอบ สามารถลดพฤติกรรมซ้ำๆ ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมในระดับเตรียมความพร้อมได้ด

Article Details

How to Cite
[1]
ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์ อ. ส., “การใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบ CYCLIC MODEL ตามทฤษฎี SENSORY INTEGRATION เพื่อลดพฤติกรรมซ้ำๆ ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมในระดับเตรียมความพร้อม”, EDGKKUJ, vol. 10, no. 4, pp. 150–156, Jun. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biography

อรทัย สอนทะมาตร, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น