ผลของการใช้เกมซุโดะกุพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผลของเด็ก และเยาวชนที่กระทำผิดกฎหมาย

Main Article Content

สุดาภร ชะตาถนอม, สุวรี ฤกษจารี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถด้านความคิดเชิงเหตุผลของเด็ก และเยาวชนที่ได้รับการ จัดกิจกรรมเกมซุโดะกุ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านความคิดเชิงเหตุผลของเด็กและเยาวชนที่ได้รับการจัดกิจกรรม เกมซุโดะกุก่อนและหลังทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กและเยาวชนกระทำผิดกฎหมายที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเลย ซึ่งมีระดับอายุระหว่าง 13-17 ปี จำนวน 10 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากการสัมภาษณ์เพื่อสอบถามความสมัครใจและต้องอยู่อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดเลย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมเกมซุโดะกุ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผล 3) แบบบันทึกการดำเนินกิจกรรม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

ผลของการใช้เกมซุโดะกุพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผลของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดกฎหมาย พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผลเพิ่มขึ้นทั้งหมด 10 คน คิดเป็นร้อยละ100 มีคะแนน ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.3 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเพิ่มขึ้น 0.54 และความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่ ได้รับการจัดกิจกรรมเกมซุโดะกุ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นน้อย (1-2 คะแนน) มี 4 คน คิดเป็นร้อยละ 40 กลุ่มที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นปานกลาง (3-4 คะแนน) มี 4 คน คิดเป็นร้อยละ 40 และกลุ่มที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นมาก (5-8 คะแนน) มี 2 คน คิดเป็น ร้อยละ 20 ผู้วิจัยนำคะแนนความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับกิจกรรมเกมซุโดะกุ ระยะก่อนการทดลองและระยะหลังการทดลอง มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ The Wilcoxon Matched - Pairs Signed Ranks Test

ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า หลังการทดลองคะแนนความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผลสูงขึ้นกว่าก่อนการ ทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
[1]
สุวรี ฤกษจารี ส. ช., “ผลของการใช้เกมซุโดะกุพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผลของเด็ก และเยาวชนที่กระทำผิดกฎหมาย”, EDGKKUJ, vol. 10, no. 4, pp. 138–144, Jun. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biography

สุดาภร ชะตาถนอม, สุวรี ฤกษจารี, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น