ผลการใช้กิจกรรม STRONG BLIND ที่มีต่อการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการทางการเห็น

Main Article Content

วินัย อินเสมียน, ปนัดดา ญวนกระโทก

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรม STRONG BLIND ที่มีต่อการพัฒนาการเห็นคุณค่า ในตนเองของคนพิการทางการเห็น กลุ่มเป้าหมายเป็นคนพิการทางการเห็นที่มารับการฟื้นฟูสมรรถภาพและฝึกอบรมอาชีพ การนวดไทย ที่โรงเรียนการอาชีพคนตาบอดขอนแก่น ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่ง เป็นคนพิการทางการเห็นที่ขึ้นทะเบียนคนพิการกับสำนักงานพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์แล้วอายุ 20 - 40 ปี เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะดี จำนวน 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเป็นแบบตรวจสอบ รายการ (Check List) ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ประเภทความพิการทางการเห็น สภาพการมองเห็น สาเหตุ ที่ทำให้เกิดความพิการทางการเห็น การรักษาพยาบาลในปัจจุบัน ตอนที่ 2 แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยใช้แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเองของ คูเปอร์สมิธ ฉบับผู้ใหญ่ (CoopersmithSelf - Esteem Inventory Adult Form 1984) จำนวน 25 ข้อ เป็นฉบับที่ได้รับการแปลและพัฒนา โดย สุรางรัตน์ คงสี (2547 อ้างถึงใน พรพิมล พรแก้ว, 2551) ตอนที่ 3 แบบประเมินการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองสำหรับคนพิการทางการเห็น ผู้วิจัยได้พัฒนาจากแนวทางการพัฒนาการเสริม สร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง ของ Deborah (2004 อ้างถึงใน นิมิตา ปาละวงศ์, 2556) 2) แผนการใช้กิจกรรม STRONG BLIND จำนวน 10 กิจกรรม ระยะเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง คือ วันพุธ 1 ชั่วโมง และวันเสาร์ 3 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง ประเมินทั้งหมด 12 ครั้ง จำนวน 21 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ

ผลการวิจัย

1. ระดับคะแนนจากแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง สำหรับคนพิการทางการเห็น ก่อนและหลังการใช้กิจกรรม STRONG BLIND พบว่า โดยภาพรวมก่อนการใช้กิจกรรม มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองสำหรับคนพิการทางการเห็น 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 36 อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ และภาพรวมหลังการใช้กิจกรรม มีระดับการเห็นคุณค่า ในตนเองสำหรับคนพิการทางการเห็น คะแนนสูงขึ้นเป็น 17 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 68 อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลางค่อนข้างสูง ซึ่งมีคะแนนความแตกต่างก่อนและหลังการใช้กิจกรรม 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 32

2. ระดับค่าเฉลี่ยคะแนนการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองสำหรับคนพิการทางการเห็นก่อนและหลังการใช้กิจกรรม STRONGBLIND พบว่าก่อนการใช้กิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยคะแนนการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยภาพรวม อยู่ในเกณฑ์ระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.97 คะแนน และหลังการใช้กิจกรรม กลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ยคะแนนการพัฒนาการ เห็นคุณค่าในตนเอง โดยภาพรวมเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.19 คะแนน

3. การเปรียบเทียบระดับการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ระหว่างการใช้กิจกรรม STRONG BLIND สำหรับ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 4 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 10 กิจกรรม พบว่ากิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาการเห็นคุณค่า ในตนเองมากที่สุด คือ กิจกรรมที่ 7 เพลงแห่งความสุข โดยมีค่าเฉลี่ยรวมระหว่างการใช้กิจกรรม เท่ากับ 4.28 คะแนน

Article Details

How to Cite
[1]
ปนัดดา ญวนกระโทก ว. อ., “ผลการใช้กิจกรรม STRONG BLIND ที่มีต่อการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการทางการเห็น”, EDGKKUJ, vol. 10, no. 4, pp. 126–132, Jun. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biography

วินัย อินเสมียน, ปนัดดา ญวนกระโทก, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น