การพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนน้ำตกห้วยสวนพลู : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

วาสนา ปุริโส, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, สุรัตน์ ดวงชาทม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาและความคาดหวังต่อการพัฒนาภาวะผู้นำ ครูในโรงเรียนน้ำตกห้วยสวนพลู และหาทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงภาวะผู้นำครูและ 2) พัฒนา ภาวะผู้นำครู โดยใช้โครงการเป็นสิ่งสอดแทรกหลัก ใช้หลักการพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การเสริมพลังการทำงาน และกัลยาณมิตรนิเทศ เป็นสิ่งสอดแทรกเสริม มีการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงภาวะผู้นำครู การเรียนรู้ใหม่ในระดับบุคคล กลุ่มบุคคลและระดับโรงเรียน รวมทั้งส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2 วงรอบการวิจัยระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556-ตุลาคม2557 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 6 คน คือครูที่สอนในโรงเรียน น้ำตกห้วยสวนพลู ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 คนได้จากร่วมกันคัดเลือกบุคคลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนประกอบด้วยผู้วิจัยและ ผู้ร่วมวิจัย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ศึกษานิเทศก์ และกรรมการสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งใช้เก็บข้อมูลตลอดระยะการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกรายวัน แบบบันทึก การประชุม แบบวิเคราะห์เอกสาร กล้องถ่ายภาพ การสนทนากลุ่ม และแบบประเมินพฤติกรรมภาวะผู้นำครูใช้เพื่อประเมิน ระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำครูตามองค์ประกอบรายด้านเมื่อสิ้นสุดวงรอบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการดำเนินการร่วม กันของผู้ร่วมวิจัยตลอดวงรอบการวิจัย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้วิธีการทางสถิติเบื้องต้นและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบัน ภาวะผู้นำครูในการใช้ปฏิบัติงานตามภารกิจสถานศึกษา เกี่ยวกับงานบริหารวิชาการ งานบริหาร งบประมาณและสินทรัพย์ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป มีความล่าช้า สาเหตุมาจากครูขาดภาวะผู้นำ ส่วนสภาพปัญหา ภาวะผู้นำครูในโรงเรียนยังอยู่ในระดับน้อยเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางาน จึงได้ดำเนินการพัฒนาภาวะผู้นำครู เลือกทางเลือก ของการพัฒนา โดยใช้โครงการ 16 โครงการเป็นสิ่งสอดแทรกหลัก ใช้หลักการพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การเสริมพลัง การทำงานและกัลยาณมิตรนิเทศ เป็นสิ่งสอดแทรกเสริม ใช้องค์ประกอบภาวะผู้นำครู 1) ด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู 2) ด้านการเป็นแบบอย่างทางการสอน 3) ด้านมีส่วนร่วมในการพัฒนา และ 4) ด้านเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อการตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภาวะผู้นำครู

2. ผลการพัฒนาภาวะผู้นำครู ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านมีการพัฒนาตนเอง และเพื่อนครู ( Χ =4.69) ด้านการเป็นแบบอย่างทางการสอน ( Χ =4.02) และในรายตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ( Χ =4.86) การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Χ =4.72) และทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( Χ =4.64) เกิดการเรียนรู้ในระดับบุคคล กลุ่มบุคคล ระดับโรงเรียน คือมีความเต็มใจและกระตือรือร้นในการเป็นผู้ร่วมวิจัย จัดการเรียนรู้ที่สนองความต้องการของผู้เรียน มีส่วนร่วมในโครงการและเปิดใจยอมรับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป โดยมุ่งการกระทำให้ บรรลุผลตามวิสัยทัศน์ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภาวะผู้นำครู จากการร่วมกันนำโครงการไปปฏิบัติ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน จากการปฏิบัติที่ดีเลิศ ส่วนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ทางบวก ของผู้เรียน เกิดจากครูใช้ภาวะผู้นำในการนำโครงการ ไปจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อสนองความต้องการและความถนัดของผู้เรียน

Article Details

How to Cite
[1]
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, สุรัตน์ ดวงชาทม ว. ป. ส. โ., “การพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนน้ำตกห้วยสวนพลู : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม”, EDGKKUJ, vol. 10, no. 4, pp. 119–125, Jun. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biography

วาสนา ปุริโส, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, สุรัตน์ ดวงชาทม, สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร