การพัฒนาแบบทดสอบพหุมิติวัดความสามารถด้านเหตุผลและภาษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
Abstract
ปัจจุบันแบบทดสอบวัดความสามารถด้านเหตุผลในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบที่มุ่งวัดความสามารถ ด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งการให้เหตุผลก็พบว่าจะต้องใช้ความสามารถด้านภาษาเข้ามา เพื่อให้เห็นความชัดเจนของการให้เหตุผลมาก ขึ้น และการให้เหตุผลด้วยภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมนั้นก็ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตในสังคมเช่นกัน งานวิจัยนี้ผู้วิจัยมุ่ง ศึกษาและมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบทดสอบพหุมิติวัดความสามารถด้านเหตุผลและภาษา สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบพหุมิติวัดความสามารถด้านเหตุผลและภาษา สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 และ 3) สร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบพหุมิติวัดความสามารถด้านเหตุผลและภาษา สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาที่ 6 โดยมีเนื้อหา ได้แก่ วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และสังคมและเศรษฐศาสตร์ และมีมิติที่ศึกษา 2 มิติ คือ ความสามารถด้านเหตุผลและภาษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1 จำนวน 1,230 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบพหุมิติวัดความสามารถด้านเหตุผลและภาษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบพหุมิติวัดความสามารถด้านเหตุผลและภาษา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สร้างขึ้นจำนวน 49 ข้อ จากตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ และและค่าความเที่ยง แบบสอดคล้องภายในด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ทำให้มีข้อสอบผ่านเกณฑ์จำนวน 47 ข้อ คัดเลือกไว้จำนวน 30 ข้อ ผลการหาคุณภาพแบบทดสอบพหุมิติวัดความสามารถด้านเหตุผลและภาษาที่ทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบ แบบพหุมิติที่มีลักษณะสอดคล้องภายในข้อสอบ ระหว่างความสามารถด้านเหตุผลและภาษา จำนวน 6 ข้อ ข้อสอบวัดความสามารถด้านเหตุผลมากกว่าความสามารถด้านภาษาอย่างชัดเจน จำนวน 14 ข้อ ข้อสอบวัดความสามารถ ด้านภาษามากกว่าความสามารถด้านเหตุผลอย่างชัดเจน จำนวน 10 ข้อ ผลการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบวัด ความสามารถด้านเหตุผลและภาษา พบว่าส่วนใหญ่มีค่าความยากปานกลางค่อนข้างสูงเหมาะสำหรับผู้สอบที่มีความ สามารถปานกลางค่อนข้างสูง ผลการสร้างเกณฑ์ปกติ พบว่าเป็นแบบอิงเกณฑ์ โดยการนำคะแนนที่ตรวจให้คะแนนแบบ 0, 1 คูณด้วยน้ำหนักองค์ประกอบที่ได้จาก Multidimensional Model ได้เป็นคะแนนความสามารถที่แท้จริง ส่วนใหญ่นักเรียนมีความ สามารถด้านเหตุผลและภาษาอยู่ในระดับค่อนข้างสูงไปถึงสูง และการแปลความหมายคะแนน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีความสามารถที่แท้จริงอยู่ในระดับสูง
Article Details
How to Cite
[1]
พัชรี จันทร์เพ็ง ภ. ว., “การพัฒนาแบบทดสอบพหุมิติวัดความสามารถด้านเหตุผลและภาษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”, EDGKKUJ, vol. 10, no. 4, pp. 105–111, Jun. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research article)