การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของโรงเรียนเครือข่ายเพชรเริงรมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3

Main Article Content

ภัควลัญชญ์ แท่นนอก, จีราวิชช์ เผือกพันธ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียน รู้สุขศึกษาและพลศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายเพชรเริงรมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ทั้งฉบับเท่ากับ 0.876 ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาโรงเรียนเครือข่ายเพชรเริงรมย์ มีความคิด เห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายเพชรเริงรมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ดังนี้

1. สภาพการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีดังนี้ คือ

1.1 ด้านการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน มีสภาพความเป็นจริงในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.44) สภาพที่ เป็นจริงสูงสุด คือ หลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58)

1.2 ด้านการใช้วิธีสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร มีสภาพความเป็นจริงในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.35) สภาพที่เป็นจริงสูงสุด คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.61)

1.3 ด้านการจัดปัจจัยและสภาพการณ์ต่างๆ มีสภาพความเป็นจริงในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.10) สภาพที่เป็นจริงสูงสุด คือ ภาระหน้าที่งานพิเศษนอกเหนือจากการสอน สภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47)

2. ปัญหาการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีดังนี้ คือ

2.1 ปัญหาด้านการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.66) ปัญหาสูงสุดคือ การจัดทำหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีปัญหาในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.78)

2.2 ปัญหาด้านการใช้วิธีสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.68) ปัญหาสูงสุด คือ การสอนโดยใช้วิธีให้นักเรียนทดลอง มีปัญหาในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.86)

2.3 ปัญหาด้านการจัดปัจจัยและสภาพการณ์ต่างๆ โดยรวมมีปัญหาในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.80) ปัญหา สูงสุดคือ การจัดทำและจัดหาสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ มีปัญหาในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.94)

Article Details

How to Cite
[1]
จีราวิชช์ เผือกพันธ์ ภ. แ., “การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของโรงเรียนเครือข่ายเพชรเริงรมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3”, EDGKKUJ, vol. 10, no. 4, pp. 91–97, Jun. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biography

ภัควลัญชญ์ แท่นนอก, จีราวิชช์ เผือกพันธ์, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น