การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารรอบตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ทิฆัมพร สิงห์ชัยภูมิ, สุมาลี ชัยเจริญ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัค ติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารรอบตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ศึกษาการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย รวมทั้งศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านซำมูลนาก จำนวน 20 คน ใช้รูปแบบการวิจัยก่อนการทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบหลังเรียน (One Shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ แบบสัมภาษณ์ การคิดวิเคราะห์ แบบวัดการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการ คิดวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาโดยนำแนวคิดและหลักการที่สำคัญของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้ บนเครือข่ายซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ (1) สถานการณ์ปัญหาและภารกิจการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ (2) แหล่งเรียนรู้ (3) ฐานความช่วยเหลือ (4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (5) ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ผู้เรียนที่เรียนมีความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ ได้แก่ 1) การจำแนกแยกแยะ 2) การระบุความสัมพันธ์เชิงเหตุผล 3) การจัดหมวดหมู่ และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้ และความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนว ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มีการออกแบบที่เหมาะสมช่วยสนับสนุนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้

Article Details

How to Cite
[1]
สุมาลี ชัยเจริญ ท. ส., “การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารรอบตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”, EDGKKUJ, vol. 10, no. 4, pp. 69–75, Jun. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biography

ทิฆัมพร สิงห์ชัยภูมิ, สุมาลี ชัยเจริญ, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น