การสังเคราะห์งานวิจัย หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน กลุ่มวิชาเฉพาะการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการสังเคราะห์งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัย หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน กลุ่มวิชาเฉพาะการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2557 2) เพื่อศึกษาวิธีการสังเคราะห์งานวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-Analysis) 3) เพื่อศึกษาวิธีการสังเคราะห์งานวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) คือ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และรายงานการศึกษาอิสระ ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน กลุ่มวิชาเฉพาะการสอน สุขศึกษาและพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2557 ที่สำเร็จการ ศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งกำหนดให้นักศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิตต้องทำวิทยานิพนธ์ โดยต้องสอบผ่านตามเงื่อนไขของมหาวิทยาลัย พบจำนวน ทั้งหมด 50 เรื่อง ทั้งหมด 50 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการ สังเคราะห์งานวิจัย ใช้การวิเคราะห์อภิมานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปรายงาน ผลการวิจัยสรุปดังนี้
1) ข้อมูลพื้นฐานงานวิจัย พบว่า ในปี 2554 มีผู้ทำการวิจัยมากที่สุดทั้งหมด 15 เรื่อง (ร้อยละ 30) ประเภทงาน วิจัยพบมากที่สุดคือรายงานการศึกษาอิสระ จำนวน 27 เรื่อง (ร้อยละ 54) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษามากที่สุดจำนวน 53 ข้อ (ร้อยละ 53) ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้เป็นแบบกึ่งทดลองมากที่สุดจำนวน 19 เรื่อง (ร้อยละ 38) และผู้วิจัยไม่มีการตั้งคำถามงานวิจัย จำนวน 39 เรื่อง (ร้อยละ 78) และไม่มีการตั้งสมมติฐานการวิจัย จำนวน 30 เรื่อง (ร้อยละ 60) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด จำนวน 26 เรื่อง (ร้อยละ 52) กลุ่มตัวอย่างที่มุ่งศึกษาคือ กลุ่มนักเรียนมากที่สุด จำนวน 30 เรื่อง (ร้อยละ 58.82) ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงมากที่สุด จำนวน 35 (ร้อยละ 70) พื้นที่ดำเนินการ วิจัยพบในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด จำนวน 50 เรื่อง (ร้อยละ 100) วิธีการเก็บข้อมูลเป็นการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ทั้งหมด จำนวน 50 เรื่อง (ร้อยละ 100) ใช้ความเที่ยงในการตรวจสอบเครื่องมือมากที่สุด จำนวน 50 เรื่อง (ร้อยละ 54.95) เก็บจากการสังเกตมากที่สุด จำนวน 17 เรื่อง (ร้อยละ 34) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบทดสอบและ แบบวัดมากที่สุด จำนวน 33 แบบ (ร้อยละ 38.82) การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ที่มีความถี่สูงสุดคือค่าเฉลี่ย จำนวน 47 (ร้อยละ 36.43)
2) ผลการวิเคราะห์งานวิจัยด้วยเทคนิควิเคราะห์การอภิมาน สามารถนำมาวิเคราะห์อภิมานได้ 3 เรื่อง เป็นงานวิจัย ที่ศึกษาตัวแปรตามเกี่ยวกับทักษะ/ผลสัมฤทธิ์/ความสามารถทางด้านการเรียนของผู้เรียนรวมอยู่ด้วย และมีค่าสถิติเพียงพอ ที่จะนำมาสังเคราะห์งานวิจัย พบว่ามีค่าอิทธิพลเฉลี่ยเท่ากับ 14.70 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ศึกษาทางการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียน สุขศึกษาและพลศึกษาที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองสูงกว่าก่อนได้รับการสอน 14.70 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระหว่าง การทดลอง
3) ผลการสังเคราะห์งานวิจัยด้วยเทคนิควิเคราะห์เนื้อหาจาก 50 เรื่อง เมื่อจำแนกตามรูปแบบระเบียบวิธีวิจัย พบว่า 3.1) กึ่งทดลอง จำนวน 19 เรื่อง ด้านสร้างแบบฝึกแบบและแบบทดสอบต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้จริง อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 3.2) เชิงสำรวจ จำนวน 12 เรื่อง เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่มีต่อการเรียนพลศึกษา ผู้เรียนมีความคาดหวังในเรื่องการเอาใจใส่ จากผู้ฝึกสอนมากที่สุด 3.3) เชิงทดลอง จำนวน 10 เรื่อง เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงกว่าการรับการทดสอบ 3.4) เชิงบรรยาย จำนวน 5 เรื่อง เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อวิชาชีพครูและการสอน และความรับผิดชอบของนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า เป็นไปในทิศทางที่ดีมาก มีทัศนคติและศรัทธาที่ดีต่อวิชาชีพ 3.5) เชิงปฏิบัติการ 3 เรื่อง เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์และสร้างหน่วยการเรียนรู้ พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 3.6) เชิงสหสัมพันธ์ จำนวน 1 เรื่อง เป็นการ สร้างแบบฝึกทดสอบของนักกีฬาบาสเกตบอล ช่วงชั้นที่ 4 พบว่า มีดัชนีสอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบและ มีความเที่ยงของแบบทดสอบ